ติดต่อเรา

ENERGY 3 STARS ประหยัดไฟฟ้าสูงสุด ต้องการันตีด้วยฉลากเบอร์ 5 “3 ดาว”

ENERGY 3 STARS ประหยัดไฟฟ้าสูงสุด ต้องการันตีด้วยฉลากเบอร์ 5 "3 ดาว"

Highlight

  • ประหยัดที่สุด เลือกซื้อแอร์ที่มีฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 “3 ดาว”!!
  • ฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ปรับรูปแบบใหม่เมื่อปี 2562 เพิ่มดาวเพื่อแสดงถึงมาตรฐานการประหยัดพลังงานที่มากกว่าเดิม ดาวที่มากขึ้นบ่งบอกถึงการประหยัดค่าไฟฟ้าเพิ่ม
  • แอร์ติดฉลากเบอร์ 5 “3 ดาว”!! ประหยัดพลังงานมากขึ้น เมื่อเทียบกับแอร์อินเวอร์เตอร์ทั่วไป 

หลาย ๆ คนที่เคยซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือกำลังมองหาเครื่องใช้ไฟฟ้าสักชิ้นอยู่จะต้องคุ้นหูกับคำว่า “ฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5” กันใช่ไหมล่ะ? แต่เคยสงสัยหรือไม่ว่า”ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 นี้บอกอะไรเราบ้าง? ประหยัดแค่ไหน? ประหยัดไปเท่าไหร่? แล้วมันมีความสำคัญมากน้อยแค่ไหนกันนะ?”

เพราะนอกจากเบอร์ 5 และดาวแล้ว ยังมีข้อมูลที่ถูกระบุไว้ในฉลากทั้งข้อมูลของผลิตภัณฑ์ ค่าไฟฟ้า และค่าประสิทธิภาพ วันนี้แคเรียร์เลยอยากขอแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 เพื่อไขข้อสงสัยและเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับฉลากให้มากขึ้น ทุกคนจะได้นำไปใช้ในการตัดสินใจเลือกซื้อแอร์กัน

ฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 และดาวบอกอะไรเราบ้าง?

การที่ทุกคนเข้าใจว่า “ฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5” จะช่วยให้ทุกคนสามารถเลือกซื้อแอร์ได้อย่างชาญฉลาด เพราะนอกจากเราจะรู้เรื่องขนาด รูปลักษณ์ ราคา และฟังก์ชั่นการใช้งานของแอร์แล้ว ยังมีอีกหนึ่งสิ่งสำคัญนั่นก็คือการประหยัดพลังงาน เพราะจะช่วยให้สามารถประหยัดเงิน และวางแผนการใช้จ่ายค่าไฟในระยะยาวได้อีก แคเรียร์ในฐานะผู้และผู้พัฒนาเทคโนโลยีด้านเครื่องปรับอากาศเราจึงเห็นถึงความสำคัญและนำข้อมูล “ฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5” มาให้ทุกคนได้เข้าใจมากขึ้น

ดาว คือเกณฑ์บอกประสิทธิภาพพลังงาน ที่จะแบ่งออกเป็น 4 ระดับคือ เบอร์ 5, เบอร์ 5 หนึ่งดาว, เบอร์ 5 สองดาว, เบอร์ 5 สามดาว โดยยิ่งดาวที่มากขึ้นหมายถึงความประหยัดที่มากกว่า แต่ละดาวที่เพิ่มขึ้นนั้นจะแสดงถึงความสามารถในการประหยัดค่าไฟฟ้าได้เพิ่มขึ้น

ผลิตภัณฑ์ เครื่องปรับอากาศและประเภทของผลิตภัณฑ์ จะถูกระบุอยู่ในส่วนนี้ ตัวอย่างเช่น เครื่องปรับอากาศ Inverter

ข้อมูลของผลิตภัณฑ์ ยี่ห้อ ชื่อรุ่นและขนาดของแอร์ (มีหน่วยเป็นบีทียูต่อชั่วโมง) จะถูกระบุอยู่ในส่วนนี้ทั้งหมด

ค่าไฟฟ้า เป็นการคำนวณค่าไฟฟ้าต่อปี เพื่อนำไปใช้คำนวณค่าใช้จ่ายในระยะยาวได้นั่นเอง หรือใช้เปรียบเทียบกับสินค้ารุ่นอื่น ๆ เพื่อการตัดสินใจซื้อ

ค่าประสิทธิภาพ เป็นค่าที่คิดจากอัตราส่วนของปริมาณความเย็น (บีทียู) ต่อกำลังไฟที่แอร์ใช้ในหนึ่งชั่วโมง(วัตต์/ชั่วโมง) หรือที่เรียกง่าย ๆ ก็คือเป็นค่าบอกความสามารถในการประหยัดพลังงานว่าอยู่ในระดับไหนนั่นเอง เราสามารถเอาค่านี้ไปเปรียบเทียบกับแอร์รุ่นใกล้เคียงได้ โดยตัวเลขยิ่งสูงก็ยิ่งมีประสิทธิภาพดีกว่านั่นเอง ใครที่มองหาแอร์อยู่ อย่าลืมดูส่วนนี้เลยนะ สำคัญมาก ๆ 

การทดสอบค่าประสิทธิภาพแบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือแบบ EER (Energy Efficiency Ratio) และ SEER (Seasonal Energy Efficiency Ratio) ใครที่สงสัยว่า 2 อย่างนี้คืออะไร เรามาดูข้อแตกต่างกันดีกว่า

  • EER เป็นการทดสอบที่ใช้อุณหภูมิภายนอก ‘แบบคงที่’ ในการคำนวณ โดยส่วนใหญ่แล้ว จะใช้เพื่อทดสอบแอร์รุ่น Fixed Speed ซึ่งเป็นหนึ่งในประเภทของแอร์ที่รอบหมุนของคอมเพรสเซอร์ได้ถูกกำหนดไว้แล้ว เมื่อแอร์ทำความเย็นในห้องถึงระดับนั่นเอง 
  • ต่างจาก SEER ที่การทดสอบจะใช้อุณหภูมิภายนอกที่มีการเปลี่ยนแปลงเข้ามามีส่วนร่วม

มักใช้ในการทดสอบแอร์รุ่น Inverter นั่นเอง โดยแอร์ประเภทนี้ การทำงานรอบหมุนของคอมเพรสเซอร์ นั้นสามารถปรับระดับความเร็วได้ ซึ่งจะปรับไปตามเซ็นเซอร์ตรวจจับอุณหภูมิภายในห้องเพื่อให้ความเย็นคงที่และยังลดการกระชากของไฟอีกด้วย

เว็บไซต์ ของโครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 จะถูกติดอยู่บนฉลากเช่นกัน เพื่อที่ทุกคนจะสามารถเข้าถึงข้อมูลของสินค้าต่าง ๆ ได้ผ่านระบบออนไลน์ มีทั้งการรับรองจาก กฟผ. และข้อมูลอื่น ๆ ของโครงการบนเว็บไซต์ด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง
Auto Restart พักผ่อนต่อเนื่อง

AUTO RESTART พักผ่อนไม่มีสะดุด แอร์กลับมาทำงานเองอัตโนมัติแม้ไฟดับ

Highlight เคยไหม!? กับการที่ร่างกายอ่อนเพลียแต่ต้องตื่นขึ้นมากลางดึกเพราะสิ่งรบกวนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านจิตใจหรือสภาพแวดล้อมระหว่างการนอนก็ตาม ส่งผลให้การตื่นขึ้นมาในเช้าวันใหม่ของเราไม่สดใสเท่าที่ควร

อ่านต่อ

5 สัญญาณเตือนที่บ่งบอกว่าถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนแอร์เครื่องใหม่

เครื่องปรับอากาศของคุณถึงจุดที่จะต้องเปลี่ยนใหม่แล้วหรือยัง? เมื่อถึงเวลาเปลี่ยน มักเป็นเรื่องยากที่ต้องตัดสินใจ ว่าตอนไหนเป็นเวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการละทิ้งสิ่งเก่าและเปิดต้อนรับสิ่งใหม่ ๆ เครื่องปรับอากาศก็เป็นอีกเรื่องที่หลายคนสงสัย

อ่านต่อ
ตั้งเวลาเปิด-ปิดแอร์อย่างไร?

ตั้งเวลาเปิด-ปิดแอร์อย่างไร?

ถ้าความเย็นคือความสุขที่คุณชื่นชอบและต้องการส่งมอบให้แก่คนที่คุณรัก และความปลอดภัยแก่พื้นที่บ้านจากปัญหาไฟฟ้าลัดวงจร จากการเปิดเครื่องปรับอากาศทิ้งไว้ตลอดวัน คุณก็สามารถแก้ปัญหานี้ได้ด้วยการตั้งเวลาเปิด-ปิดเครื่องปรับอากาศในช่วงเวลาที่ร้อนที่สุดของวัน จนถึงเวลาที่อุณหภูมิภายนอกได้ลดลง อย่างไรก็ตาม

อ่านต่อ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save

แชร์บทความ Carrier