ติดต่อเรา

อยากหนีฝุ่นอันตรายให้ไกล แอร์แบบไหนช่วยเราได้

อยากหนีฝุ่นอันตรายให้ไกล แอร์แบบไหนช่วยเราได้

         ฤดูหนาวเป็นฤดูที่เรียกว่าชาวภูมิแพ้เจ็บปวดอย่างหนัก ทั้งจาม ทั้งแสบจมูกจนแทบอยากจะมีเครื่องกรองอากาศติดตัวไปทุกที่ เพราะเป็นช่วงที่เรามักจะพบเจอกับปัญหาฝุ่นควันมากกว่าปกติ เป็นเพราะความกดอากาศสูงที่เคลื่อนตัวลงมาปกคลุมทั่วประเทศจากทางเหนือ ทำให้พื้นดินคายความร้อนอย่างรวดเร็วและเย็นลง ทำให้อากาศร้อนลอยขึ้นไปอยู่คั่นกลาง และทำให้ไม่มีช่องว่างให้อากาศไหลผ่าน ฝุ่นพิษที่สะสมอยู่ตกกลับลงสู่พื้นดินอีกครั้ง แล้วฝุ่นที่อันตรายในหน้าหนาวมีที่มาจากอะไรบ้าง แคเรียร์มีคำตอบมาให้แล้ว

ควันจากรถยนต์

         จากปัญหาการจราจรติดขัดในเมืองทำให้เกิดปัญหามลพิษทางควันรถยนต์ ผู้คนที่ต้องสัญจรก็ต้องสูดดมควันพิษเหล่านี้เข้าไปด้วย ซึ่งในควันรถยนต์นั้นมีสารที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อปอดหลายชนิด และหากสูดดมควันรถยนต์ในระยะยาว ควันพิษจะเข้าไปทำลายถุงลมในปอด จนทำให้ถึงแก่ชีวิตได้

ควันบุหรี่

          ในควันบุหรี่ประกอบด้วยสารเคมีมากกว่า 7,000 ชนิด แบ่งเป็นสารพิษนับร้อยชนิด และในจำนวนนี้ราว 70 ชนิดเป็นสารก่อมะเร็งที่ลอยอยู่ในอากาศได้นานถึง 5 ชั่วโมงทั้งที่กลิ่นหมดไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นตัวผู้สูบเองหรือผู้ที่ได้รับควันมือสองก็ตามต่างก็อันตรายไม่แพ้กัน ดังนั้นการเลิกสูบบุหรี่นอกจากจะดีต่อสุขภาพของผู้อื่นแล้ว ยังดีต่อสุขภาพของคนรอบข้างอีกด้วย

ควันจากการเผาขยะ

         เนื่องจากการเผาขยะจะเกิดก๊าซพิษหลายชนิด เช่น คาร์บอนมอนอกไซด์ คาร์บอนไดออกไซด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไนตรัสออกไซด์ เป็นต้น และการเผาขยะส่วนน้อยที่จะจำแนกขยะที่เป็นอันตราย เช่น ถ่านไฟฉาย กระป๋องยาฆ่าแมลง ขวดบรรจุเคมีภัณฑ์ เป็นต้น ทำให้ควันที่เกิดขึ้นอันตรายกว่าเดิม นอกจากควันจะทำร้ายคนในบ้านแล้วยังรบกวนผู้พักอาศัยใกล้เคียงด้วย

ควันธูป 

         เป็นสิ่งที่หลายคนมองข้าม ในช่วงหลังเราพึ่งจะเห็นการรณรงค์งดจุดธูปกันในช่วงที่ประเทศไทยประสบปัญหาฝุ่น PM 2.5  นอกจากจะทำให้เกิด PM 2.5 แล้วยังมีสารก่อมะเร็งหลายชนิด หากสูดดมไปนาน ๆ ทำให้เกิดการระคายเคืองตาและระบบทางเดินหายใจได้ หากหลีกเลี่ยงไปใช้ธูปพลาสติกแทนการจุดธูปก็จะช่วยลดการเกิดมลพิษได้

        แคเรียร์ขอแนะนำให้ทุกคนหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีกลุ่มควันดังกล่าวเป็นเวลานาน ไม่อย่างนั้นอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของทุกคนได้ ถึงแม้จะทำงานอยู่บ้าน หรือเป็นคนที่ติดบ้าน ก็อย่าพึ่งชะล่าใจไป เพราะถ้าหากบ้านอยู่ติดถนน หรือใกล้เขตก่อสร้างก็เป็นเรื่องยากที่จะหนีพ้นจากฝุ่นควันอันตรายเหล่านี้ได้ ซึ่งวิธีที่เราแนะนำคือ สวมใส่หน้ากากอนามัยเมื่อต้องออกไปข้างนอกเสมอ นอกจากจะช่วยกันเชื้อไวรัสแล้ว ยังสามารถช่วยกันฝุ่นควันได้ด้วย นอกจากนี้เวลาอยู่บ้าน สามารถหลีกเลี่ยงได้โดยการ ปิดหน้าต่างเปิดเครื่องฟอกอากาศ หรือเปิดแอร์คลายร้อน

          ซึ่งเครื่องปรับอากาศบางรุ่นก็สามารถช่วยบรรเทาเรื่องฝุ่น ควัน และมลพิษทางอากาศได้ด้วย ให้สังเกตที่แผ่นกรองในเครื่องปรับอากาศ ที่เป็น PM 2.5 FILTER ที่รวม 3 คุณสมบัติในการกรองเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นกรองฝุ่น กรองกลิ่น และกำจัดเชื้อโรค มีทั้งหมด 3 ชั้น ได้แก่

PM 2.5 Filter แผ่นกรองละเอียดจากใยชนิดพิเศษที่ทำจาก Static Cotton ซึ่งสามารถกรองฝุ่นที่มีขนาดเล็กอย่าง PM 2.5 ได้ถึง 94% ทั้งยังเคลือบสารที่ทำหน้าที่ช่วยลดการเกิดแบคทีเรียและไวรัสอีกด้วย

Activated Carbon Cleaning ชั้นกรองที่มีประสิทธิภาพในการดูดซับกลิ่นและทำหน้าที่ช่วยดักจับแบคทีเรียและสิ่งสกปรกอื่น ๆ ในอากาศได้อีกด้วย และยังไม่มีปัญหาของฝุ่นผงที่มาจากแผ่นกรองอีกด้วย

IFD Filter แผ่นฟิลเตอร์ที่ใช้เทคโนโลยีไฟฟ้าสถิตในการฉีดขึ้นรูป มีประสิทธิภาพในการดักจับฝุ่น ในรูปแบบไฟฟ้าสถิต สามารถดักจับฝุ่นที่มีอนุภาคเล็กได้ดี และทำให้ปริมาณการไหลเวียนของอากาศดีขึ้นอีกทั้งยังป้องกันการเกิดเชื้อราอีกด้วย

ที่สำคัญอย่าลืมถอดฟิลเตอร์ออกมาล้างทุก ๆ 2 อาทิตย์เพื่อความสะอาดและประสิทธิภาพการทำงานของแอร์กันด้วยนะ

บทความที่เกี่ยวข้อง

5 สัญญาณเตือนที่บ่งบอกว่าถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนแอร์เครื่องใหม่

เครื่องปรับอากาศของคุณถึงจุดที่จะต้องเปลี่ยนใหม่แล้วหรือยัง? เมื่อถึงเวลาเปลี่ยน มักเป็นเรื่องยากที่ต้องตัดสินใจ ว่าตอนไหนเป็นเวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการละทิ้งสิ่งเก่าและเปิดต้อนรับสิ่งใหม่ ๆ เครื่องปรับอากาศก็เป็นอีกเรื่องที่หลายคนสงสัย

อ่านต่อ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save

แชร์บทความ Carrier