ติดต่อเรา

แคเรียร์ชวนไขข้อสงสัย ทำไม “แอร์ไม่เย็น”

แคเรียร์ชวนไขข้อสงสัย ทำไม “แอร์ไม่เย็น”

ด้วยสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าว ร้อนจนไม่อยากออกไปไหน อยากนอนแช่ตัวอยู่บ้าน เปิดแอร์เย็นฉ่ำอย่างสบายใจ แต่บ่อยครั้งที่เปิดไปแล้ว “แอร์ไม่เย็น มีแต่ลม” เป็นปัญหาที่หลายคนก็คงเคยพบเจออยู่บ่อย ๆ และไม่รู้ว่าสาเหตุเกิดจากอะไร แม้จะเปิดแอร์ทิ้งไว้เป็นชั่วโมง เพื่อให้แอร์ได้ทำงานอย่างเต็มที่ แต่สุดท้ายแล้วกลับมีเพียงแค่ลมออกมาเท่านั้น ไม่ได้มีความเย็นสดชื่นแต่อย่างใด แล้วแบบนี้ต้องทำยังไง? สาเหตุเกิดจากอะไร? วันนี้แคเรียร์มีวิธีเช็กสาเหตุเบื้องต้นง่าย ๆ ไปดูพร้อมกันได้เลย  

“แอร์ไม่เย็น มีแต่ลม”

1. BTU ของแอร์ไม่เหมาะสมกับขนาดห้อง

แอร์ไม่เย็น มีแต่ลม ทั้ง ๆ ที่พึ่งติดตั้งไป สิ่งแรกที่ควรสงสัยเลยคือ เราเลือกขนาด BTU ของแอร์เหมาะสมกับขนาดของห้องที่ติดตั้งหรือเปล่า เพราะหากขนาด BTU กับห้องไม่เหมาะสมกันจะทำให้แอร์เย็นไม่ทั่วถึง หลายคนอาจคิดว่า ห้องไม่ได้ใหญ่มากติดแอร์ขนาดเล็กก็พอ แต่ความจริงแล้วหากขนาด BTU ต่ำเกินไป คอมเพรสเซอร์ก็จะทำงานตลอดเวลา หรือหาก BTU สูกเกินไป คอมเพรสเซอร์จะตัดบ่อย ยังไม่ทันเย็นก็ตัดแล้ว จึงทำให้แอร์ต้องทำงานหนักขึ้น เย็นช้า แถมยังกินไฟมากกว่าเดิม หากสงสัยว่า BTU แต่ละขนาดเหมาะกับห้องไซส์ไหน คลิกเลย

2. ตั้งโหมดทำความเย็นผิด

บางทีสาเหตุที่แอร์ไม่เย็น ก็เกิดขึ้นจากสิ่งเล็ก ๆ ที่เราอาจมองข้าม อย่างเช่น รีโมตแอร์ไม่ทำงาน หรือปรับการตั้งค่าอุณหภูมิผิดไป เผลอเปลี่ยนจากโหมดความเย็นที่เคยใช้ไปเป็นโหมดพัดลมแทน ในที่นี้ไม่ใช่ว่าโหมดพัดลมไม่ดี แต่โหมดพัดลม (Fan) ทำหน้าที่ลดกลิ่นอับ ยืดอายุการใช้งานของคอยล์เย็น และช่วยขับความชื้นสะสมข้างใน จึงทำให้โหมดพัดลมไม่สามารถกระจายความเย็นได้ดีเท่าโหมดความเย็น (Cool) ดังนั้นควรหยิบรีโมตขึ้นมาตรวจเช็กดูเพื่อความแน่ใจ และถ้าสงสัยว่าควรปรับโหมดแอร์แบบไหนให้เหมาะกับความต้องการของเรา แคเรียร์มีคำตอบมาให้แล้ว คลิก

3. จำนวนคนในห้อง

การที่ภายในห้องมีจำนวนคนอยู่มากเกินไป เป็นอีกสาเหตุยอดฮิตที่หลาย ๆ คนมองข้าม ถึงแม้จะดูเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ก็เป็นหนึ่งในต้นเหตุที่ทำให้อุณหภูมิภายในห้องไม่มีความเย็นหรือเย็นช้า เพราะการที่มีคนในห้องเพิ่มมากขึ้น นั่นหมายความว่าจะมีการแย่งกันใช้อากาศที่มากขึ้น ทำให้แอร์ต้องทำงานหนักขึ้น ดังนั้นถ้าการที่เรารู้สึกว่าแอร์ไม่เย็นเพราะคนในห้องเยอะ ก็อาจจะต้องลดอุณหภูมิลงและรอให้แอร์ทำงานเพิ่มขึ้น กว่าที่แอร์จะเย็นได้ทั่วห้องนั้นอาจจะต้องใช้เวลาพอสมควร

4. แอร์มีสิ่งสกปรกอุดตัน 

อีกเรื่องสำคัญที่ต้องไม่ลืมเลยก็คือ ควรล้างแอร์ทุก ๆ 6 เดือน หากแอร์ไม่ได้รับการทำความสะอาดเลย ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้แอร์ไม่เย็น หรือมีแต่ลมได้เช่นกัน เพราะว่าฝุ่นที่อุดตันตามคอยล์เย็น และแผ่นฟิลเตอร์ ทำให้ลมแอร์ไม่สามารถระบายออกมาได้ดีเท่าที่ควร ซึ่งเป็นแหล่งสะสมของสิ่งสกปรก แบคทีเรียและเชื้อไวรัสต่าง ๆ และยังทำให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาอีก เช่น ส่งผลกับเทอร์โมสตัด (ตัวควบคุมอุณหภูมิภายในเครื่องปรับอากาศ) ท่อลมตัน คอยล์เย็นมีน้ำแข็งเกาะกันไม่ให้ความเย็นออกมาได้ อาจจะมีปัญหาน้ำหยดต่ออีกต่างหาก ดังนั้นอย่าลืมล้างทำความสะอาดแอร์ครั้งใหญ่ทุก ๆ 6 เดือน และควรถอดแผ่นฟิลเตอร์แอร์มาทำความสะอาดอย่างน้อยทุก 2 สัปดาห์ 

5. น้ำยาแอร์ขาดหรือรั่ว

หากตรวจเช็กทั้ง 4 ข้อแล้ว ยังไม่เจอข้อผิดพลาดตรงไหน อย่าลืมที่จะเช็กว่าน้ำยาแอร์ของเราขาดหรืออาจเกิดการรั่วซึม การที่น้ำยาแอร์หมดหรือไม่ได้เติมน้ำยาแอร์ให้ตรงตามค่าที่กำหนดไว้ก็อาจส่งผลให้แอร์ไม่เย็นได้ เพราะปกติแล้วแอร์นั้นทำงานแบบระบบปิด น้ำยาแอร์จะหมุนเวียนอยู่ภายในท่อแอร์ ทำให้แอร์ทำความเย็นได้อย่างสม่ำเสมอ ดังนั้นอย่าลืมเช็กว่าน้ำยาแอร์เพียงพอหรือไม่ แต่หากเพิ่งเติมน้ำยาไปแล้วแอร์ยังไม่เย็น ให้กลับมาตรวจดูว่ามีจุดไหนที่เกิดการรั่วซึม หรือท่อแอร์มีน้ำแข็งเกาะ หรือมีคราบน้ำมันลื่น ๆ หยดอยู่ หากพบว่าจุดนั้นมีน้ำยาแอร์รั่ว ต้องรีบทำการเชื่อมอุดรอยรั่วเท่านั้นแอร์จึงจะทำงานได้ตามปกติ

6. คอมเพรสเซอร์ไม่ทำงาน
แอร์ไม่เย็นเนื่องจากคอมเพรสเซอร์ไม่ทำงาน เป็นอีกปัญหาที่ต้องรีบแก้ไข เพราะคอมเพรสเซอร์ถือเป็นอีกชิ้นส่วนสำคัญของแอร์ทำหน้าที่เป็นตัวระบายความร้อนที่ถูกติดตั้งไว้นอกตัวอาคาร เพื่อดึงความร้อนภายในผ่านพัดลมระบายอากาศและส่งความเย็นเข้ามาแทนที่ ดังนั้นหากคอมเพรสเซอร์ไม่ทำงานก็เท่ากับว่าไม่มีตัวดึงความร้อนออกนอกห้องและส่งผลทำให้แอร์ไม่เย็น เหตุการณ์คอมเพรสเซอร์ไม่ทำงานส่วนมากจะพบในแอร์รุ่นเก่ามาก ๆ ซึ่งสาเหตุนี้มักเกิดจากไฟตก เพราะเมื่อไฟตกแล้ว แอร์จะทำงานแต่ไม่ให้ความเย็น สำหรับการแก้ไขเบื้องต้นให้ปิด-เปิดแอร์ หรือสับเบรกเกอร์ใหม่ แอร์ก็จะสามารถกลับมาทำงานได้ตามปกติแล้ว แต่หากลองสับเบรกเกอร์แล้วแอร์ยังคงไม่ทำงาน จำเป็นต้องเรียกช่างผู้เชี่ยวชาญมาเช็กสภาพแอร์โดยด่วน
สาเหตุที่แอร์ไม่เย็น มีแต่ลม สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ซึ่งนอกจากจะทำให้รู้สึกรำคาญใจจากอากาศที่ร้อนแล้ว ยังอาจส่งผลให้มีปัญหาอื่น ๆ ตามมา ทั้งปัญหาเรื่องค่าไฟแพงเพราะแอร์ทำงานหนักเกินไป รวมถึงปัญหาค่าซ่อม หากแอร์เกิดเสียหายหรือชำรุดบ่อย วิธีการแก้ไขเบื้องต้นคือคุณควรหมั่นตรวจเช็กและคอยสังเกตอยู่เสมอ จากปัจจัยทั้ง 6 ข้อข้างต้น เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาค่าใช้จ่ายที่เกินความจำเป็น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นในบางครั้งด้วยอายุการใช้งานของแอร์บวกกับการดูแลรักษาก็มีผลต่อประสิทธิภาพการให้ความเย็นของแอร์เช่นกัน หากคุณต้องการแอร์ที่มีความแข็งแรงทนทาน มีอายุการใช้งานนาน ๆ ให้ความเย็นสบาย ให้อากาศสะอาด และสามารถตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ของคุณได้เป็นอย่างดี ต้องเป็นแอร์ทั้ง 3 รุ่นท็อปจากแคเรียร์ ไม่ว่าจะเป็นแอร์แคเรียร์ XInverter Plus, แคเรียร์ Color Smart หรือแคเรียร์ Copper หากสนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.carrierthailand.com และสามารถติดต่อเราได้ทางเฟสบุ๊คเพจ Carrier Thailand หรือสายด่วนแอร์บ้านแคเรียร์ 1454

บทความที่เกี่ยวข้อง

เลือกตำแหน่งติดตั้งแอร์ในห้องนอนอย่างไรให้เหมาะสม?

การเลือกตำแหน่งติดตั้งเครื่องปรับอากาศในห้องนอนเป็นเรื่องที่สำคัญมากอย่างหนึ่ง เพราะไม่เพียงแต่จะเกี่ยวกับอากาศที่เย็นสบายภายในห้องเท่านั้น แต่ยังรวมถึงสุขภาพและค่าใช้จ่ายที่จะตามมาอีกด้วย หากเราเลือกตำแหน่งติดตั้งแอร์ได้อย่างเหมาะสม ก็จะช่วยให้ห้องนอนของเราเย็นฉ่ำอย่างสม่ำเสมอและทั่วถึง อีกทั้งยังเป็นการลดปัญหาด้านสุขภาพและช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างดี

อ่านต่อ

ห้องขนาดเล็กพื้นที่น้อยเลือกแอร์ยังไงดีให้เหมาะกับห้องของคุณ

จะดีกว่าไหมถ้าคุณสามารถเนรมิตพื้นที่เล็ก ๆ ของคุณให้กลายเป็นห้องสุดหรูราคาแพงได้ ด้วยศาสตร์และศิลป์แห่งการแต่งห้องที่ช่วยให้มุมแคบดูกว้างขึ้นในทันตา สร้างบรรยากาศห้องคุณด้วยเทคนิคการตกแต่งห้องให้ดูกว้างจนคุณต้องลืมห้องแบบเดิม ๆ

อ่านต่อ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save

แชร์บทความ Carrier