ติดต่อเรา

ANTI-SHOCK จากแคเรียร์ป้องกันแผงวงจรไฟฟ้าของแอร์บ้าน จากไฟตก ไฟเกิน ฟ้าผ่า ได้ดีที่สุด

ANTI-SHOCK จากแคเรียร์ป้องกันแผงวงจรไฟฟ้าของแอร์บ้าน จากไฟตก ไฟเกิน ฟ้าผ่า ได้ดีที่สุด

Highlight

  • บ่อยครั้งที่เรามักพบปัญหากวนใจที่เกิดจากไฟตก ไฟกระชาก ซึ่งทำให้การใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าขัดข้อง หรือบางทีอาจถึงขั้นเครื่องใช้ไฟฟ้าพังเสียหาย จนไม่สามารถใช้ได้เลยก็มี
  • Anti-Shock ระบบการกรองไฟฟ้าที่มีความผันผวน ช่วยป้องกันการเสียหายต่อแผงวงจรไฟฟ้าในแอร์ได้ถึง 20%
  • Anti-Shock ทำหน้าที่ป้องกันเมื่อเกิดแรงดันไฟฟ้าเกิน รองรับได้สูงสุดถึง 10,000 โวลต์จากมาตรฐานสากลที่ตั้งไว้ 2,000 โวลต์

เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงเคยเจอปัญหาเกี่ยวกับไฟฟ้าตกหรือไฟฟ้ากระชาก ซึ่งมักจะเกิดบ่อย ๆ ในยามที่ฝนตก ฟ้าร้อง ฟ้าผ่าหนัก ๆ รวมถึงการเปิด – ปิด เครื่องใช้ไฟฟ้า พร้อมกันจำนวนมาก แน่นอนว่ากรณีแบบนี้ต้องทำให้ทุกคนรำคาญใจอย่างแน่นอน โดยเฉพาะเมื่อเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นในยามที่เรากำลังนอนหลับ พักผ่อน แต่ไฟดันตก แค่นี้ก็สร้างความหงุดหงิดใจให้เราไม่น้อยแล้ว 

นอกจากนี้การเกิดไฟตก ไฟกระชากบ่อยๆ อาจส่งผลให้เครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุดง่ายขึ้น อย่างเช่น หากแผงวงจรไฟฟ้าของแอร์ได้รับแรงดันไฟฟ้าไม่สม่ำเสมอเป็นประจำ ก็จะทำให้แอร์เสื่อมสภาพ มีอายุการใช้งานสั้นลง ถ้ากระแสไฟฟ้ามีมากเกินไป อย่างเวลาฟ้าผ่าก็สามารถทำให้แผงวงจรช็อตหรือได้รับความเสียหาย จนอาจทำให้แอร์เสียได้

แคเรียร์จึงมีเทคโนโลยี Anti-Shock เพื่อเป็นการป้องกันแผงวงจรไฟฟ้าในตัวแอร์และลดการเกิดปัญหาต่าง ๆ ที่จะตามมาจากไฟกระชากทั้งจากไฟตกและไฟเกิน ช่วยป้องกันและลดความเสียหายของแอร์ พร้อมลดค่าใช้จ่ายที่เราอาจต้องเสียเพิ่มได้อีกด้วย

Anti-Shock ทำงานอย่างไรนะ?

การที่ไฟตก ไฟเกิน หรือไฟกระชากนั้นขึ้นอยู่กับแรงดันไฟฟ้าที่เข้าสู่เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ซึ่งในประเทศไทยส่วนใหญ่แล้วแรงดันไฟฟ้ามาตรฐานจะอยู่ที่ 220 โวลต์ แต่เมื่อไฟฟ้าถูกจ่ายมา เราจะได้รับกระแสไฟฟ้าไม่คงที่ อาจมากกว่า น้อยกว่า หรือสลับกันไป ซึ่งบางทีอาจทำให้เกิดผลกระทบต่าง ๆ ต่อเครื่องใช้ไฟฟ้ารวมถึงแอร์ด้วย โดยระบบ Anti-Shock ในแคเรียร์จะแบ่งการทำงานเป็นสองส่วนหลัก ๆ

  • Electric Noise 

ส่วนแรกคือการกรองไฟฟ้าจากกำลังไฟฟ้าที่ไม่คงที่ (Electric Noise) เพื่อให้ค่าไฟฟ้าที่จ่ายเข้าเครื่องมีความเสถียรมากที่สุด ซึ่งจะช่วยลดจำนวนการเกิดแอร์ดับบ่อย ๆ ที่เกิดจากไฟตก โดยสามารถรองรับค่าไฟฟ้าได้ต่ำสุดอยู่ที่ 180 โวลต์ โดยที่เครื่องยังสามารถทำงานได้ปกติ ทั้งยังช่วยยืด อายุการใช้งานออกไปได้อีก เพราะแผงวงจรไฟฟ้าไม่ต้องเจอกับการที่ไฟกระชากบ่อย ๆ นั่นเอง 

  • Thunder Surge 

ส่วนที่สองคือการป้องกันแผงวงจรไฟฟ้าภายในไม่ให้เกิดความเสียหายจากไฟเกิน ที่รองรับได้มากถึง 10,000 โวลต์ จากมาตรฐานสากลที่ตั้งไว้ 2,000 โวลต์ แต่เมื่อเกิดฟ้าผ่า ค่าไฟฟ้าจะวิ่งเข้ามาผ่านตัวรับแรงกระชากไฟที่มีลักษณะเป็นหลอดแก้ว (Thunder Surge absorber) ซึ่งจะเป็นส่วนที่รองรับแรงดันไฟฟ้าที่เข้ามาเกินทั้งหมดเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับแผงวงจรควบคุม

รู้แบบนี้แล้วบ้านไหนที่ใช้แอร์ที่มีระบบ Anti-Shock ก็สบายใจได้เลยว่า หมดปัญหาแอร์ดับจาก ไฟตก ไฟเกิน ไฟกระชาก ได้แน่นอน

บทความที่เกี่ยวข้อง
อยากให้แอร์อยู่นานต้องดูที่คอยล์_1

เคลียร์ทุกคำตอบ อยากให้แอร์อยู่นานต้องดูที่คอยล์

เมืองไทยกับอากาศร้อนเป็นของคู่กัน โดยเฉพาะช่วงหน้าร้อนอากาศร้อนอบอ้าวจนไม่อยากออกไปไหน เครื่องปรับอากาศจึงกลายเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทุกบ้านต้องมี แต่ว่า..จะต้องเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศอย่างไรให้อยู่กับเราได้นาน แคเรียร์จะมาเคลียร์ให้ทุกคำตอบ คอยล์คืออะไร 

อ่านต่อ
SELF CLEANING สะอาดกว่าที่เคยด้วยแอร์บ้านทำความสะอาดเองอัตโนมัติ เบาแรง ประหยัดเวลา

SELF CLEANING สะอาดกว่าที่เคยด้วยแอร์บ้านทำความสะอาดเองอัตโนมัติ เบาแรง ประหยัดเวลา

Highlight ปัญหาเรื่องกลิ่นอับจากแอร์เป็นอีกหนึ่งปัญหากวนใจที่เรามักพบได้บ่อย ๆ ใครที่เคยเจอปัญหานี้คงเข้าใจดี บางครั้งอาจจะเป็นกลิ่นอับชื้น บางครั้งก็เป็นกลิ่นเหม็นเปรี้ยว

อ่านต่อ
คอมเพรสเซอร์ไม่ทํางาน ต้องแก้อย่างไร ก่อนแอร์พัง_Carrier_1

คอมเพรสเซอร์ไม่ทํางาน ต้องแก้อย่างไรก่อนแอร์พัง

จะต้องทำอย่างไร เมื่อต้องเจอกับ “คอมเพรสเซอร์แอร์ไม่ทำงาน” แคเรียร์จะพาไปดูกันว่าในกรณีที่คอมเพรสเซอร์แอร์ไม่ทำงานคุณจะต้องทำอย่างไร และมีสาเหตุมาจากอะไร มาหาคำตอบไปพร้อม

อ่านต่อ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save

แชร์บทความ Carrier