ติดต่อเรา

น้ำยาแอร์คืออะไร แท้จริงแล้วต้องเติมบ่อยจริงหรือ ?

เรื่องของ “น้ำยาแอร์” เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ทุกบ้านต้องเคยประสบปัญหาอย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็น น้ำยาแอร์หมด เติมน้ำยาแอร์ และอีกสารพัดสิ่ง แล้วน้ำยาแอร์คืออะไร? สำคัญแค่ไหน ต้องเติมบ่อยเท่าไหร่ มีน้ำยาแอร์อะไรบ้าง วันนี้แคเรียร์มีคำตอบมาให้แล้ว

น้ำยาแอร์คืออะไร

น้ำยาแอร์ หรือที่เราเรียกกันว่า สารทำความเย็น (Refrigerants) เป็นสารของเหลวที่ทำให้เกิดความเย็น เป็นตัวกลางที่ทำหน้าที่รับ ดูดซับ และนำพาความร้อน เพื่อให้เกิดการขยายตัว หรือมีการเปลี่ยนสถานะจากของเหลวให้กลายเป็นไอหรือแก๊ส และสารดังกล่าวเมื่อกลายเป็นไอแก๊สแล้ว จะสามารถคืนตัวเปลี่ยนสถานะกลายเป็นของเหลวได้อีกครั้ง

ชนิดของน้ำยาแอร์ มีอะไรบ้าง

อักษรย่อในการใช้เรียกชื่อสารทำความเย็น หรือ น้ำยาแอร์ เบอร์ต่างๆ จะถูกขึ้นต้นด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษ “R” ซึ่งย่อมาจากคำว่า Refrigerant หรือน้ำยาแอร์นั่นเอง ซึ่งน้ำยาแอร์มีมากมายหลายประเภท โดยมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป น้ำยาแอร์ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด คือ R-22 R-32 และ R-410A

น้ำยาแอร์ R-22 เป็นสารทำความเย็นที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน มักใช้กับแอร์บ้านทั่วไป มีค่า ODP (ดัชนีวัดการทำลายโอโซน) = 0.05 ค่า, GWP(ดัชนีชี้วัดผลกระทบภาวะโลกร้อน) = 1810 และมีค่า Cooling Capacity(ประสิทธิภาพการทำความเย็น) = 100 ข้อดีคือมีราคาถูกกว่าน้ำยาแอร์ชนิดอื่น ๆ ส่วนข้อเสียที่ร้ายแรงคือส่งผลต่อการทำลายชั้นโอโซน อาจทำให้กิดภาวะเรือนกระจก และหากรั่วออกมาสู่อากาศจำนวนมากจะส่งผลอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจอีกด้วย จึงต้องใช้ความระมัดระวังและความชำนาญในการใช้งาน

น้ำยาแอร์ R-32 เป็นสารทำความเย็นที่ถูกพัฒนามาเพื่อทดแทนชนิด R-22 โดยมีข้อดีที่มีค่า ODP ที่ต่ำกว่าสารทำความเย็นชนิด R-22 จึงทำให้ไม่ทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศแต่ข้อเสียก็คือราคาจะแพงกว่า และถึงแม้ว่าจะไม่ทำลายชั้นโอโซนแต่ก็ยังส่งผลต่อภาวะเรือนกระจกอยู่ มีค่า ODP (ดัชนีวัดการทำลายโอโซน) = 0 ค่า, GWP(ดัชนีชี้วัดผลกระทบภาวะโลกร้อน) = 675 และมีค่า Cooling Capacity(ประสิทธิภาพการทำความเย็น) = 160

น้ำยาแอร์ R-410A เป็นสารทำความเย็นรุ่นใหม่ล่าสุด ซึ่งถูกผลิตขึ้นมาเพื่อช่วยประหยัดพลังงาน และช่วยลดการเกิดก๊าซเรื่อนกระจก ข้อดี ประหยัดพลังงานมากที่สุดและราคายังถูกกว่า แต่ข้อเสียคือสามารถติดไฟได้ จึงต้องใช้ความระมัดระวังและความชำนาญในการใช้งาน

แอร์บ้านต้องเติมน้ำยาแอร์บ่อยแค่ไหน ?

สารทำความเย็นที่มีอยู่ในระบบทำความเย็นโดยปกติแล้วจะไม่หมดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากสารเหล่านี้จะถูกนำกลับมาใช้ใหม่อย่างต่อเนื่องภายในระบบของเครื่องปรับอากาศ ยกเว้นกรณีที่มีการรั่วไหล หรือ พบปัญหาในระบบหมุนเวียน ซึ่งอันที่จริงแล้วสารทำความเย็นจะมีอายุการใช้งานยาวนานหลายปี หรือแอร์บางเครื่องไม่จำเป็นต้องเติมสารทำความเย็นเลย สังเกตสัญญาณของการรั่วไหลของสารทำความเย็นได้ง่าย ๆ ดังนี้

  • มีลมร้อนมาจากช่องระบายอากาศ
  • ค่าไฟฟ้าสูงกว่าปกติ
  • เกิดน้ำแข็งบนสายสารทำความเย็น
  • คอยล์เย็นจนเกิดการแช่แข็ง
  • มีเสียงฟู่ หรือ เป็นฟองออกมาจากท่อสารทำความเย็น

ข้อควรระวังที่ต้องรู้ก่อนเติมน้ำยาแอร์

–  น้ำยาแอร์ที่นำมาเติมต้องเป็นชนิดเดียวกัน ห้ามใช้คนละชนิดมาผสมกัน

– การเติมน้ำยาแอร์ R32 และ R22 สามารถเติมส่วนที่น้ำยาขาดเพิ่มเข้าไปได้เลยเนื่องจากเป็นสารเชิงเดี่ยวไม่มีการผสมสารใดใดเพิ่มเติม แต่น้ำยาแอร์ R410A เป็นสารผสมต้องถ่ายน้ำยาแอร์เดิมออกมาให้หมดทุกครั้งก่อนเติมน้ำยาใหม่ หากไม่ได้ถ่ายน้ำยาแอร์เก่าออก จะทำสัดส่วนของน้ำยาแอร์ไม่สมดุล

– ควรเติมน้ำยาแอร์ให้พอดีกับสเปกของเครื่องที่ระบุไว้ หากมีการเติมน้ำยาแอร์มากเกินกว่าสเปกของเครื่อง ก็จะเกิดอาการ Over Charge ที่จะส่งผลให้แอร์ไม่เย็นได้ 

– การเติมน้ำยาแอร์ควรชั่งน้ำหนักของปริมาณของน้ำยา เพื่อให้เป็นไปตามการออกแบบมาตรฐานของเครื่องปรับอากาศ

เครื่องปรับอากาศแคเรียร์มีรับประกันคอมเพรสเซอร์นาน 10 ปี และอะไหล่ทุกชิ้นส่วนนาน 5 ปี พร้อม ฟรีค่าแรง 3 ปี (เฉพาะค่าแรงเปลี่ยนแผงวงจรอินเวอร์เตอร์ (PCB) , เปลี่ยนแผงรังผึ้งคอยล์เย็น) สามารถลงทะเบียนรับประกันสินค้ากับแอร์แคเรียร์ได้ด้วยตัวเอง ง่ายและปลอดภัยผ่านระบบยืนยันตัวตนแบบ One Time Password (OTP) สามารถเลือกใช้งานได้ทั้งในรูปแบบ SMS และ E-Mail ที่ https://support.carrierthailand.com/

บทความที่เกี่ยวข้อง
ทำแบบนี้มีแต่พัง! รวมพฤติกรรมที่ทำให้แอร์พังเร็วกว่าเดิม_carrier

ทำแบบนี้มีแต่พัง! รวมพฤติกรรมที่ทำให้แอร์พังเร็วกว่าเดิม

ทำแบบนี้มีแต่พัง! รวมพฤติกรรมทำให้แอร์พังเร็วกว่าเดิม เครื่องปรับอากาศเรียกได้ว่าเป็นไอเทมประจำบ้านสำหรับคนไทยเลยก็ว่าได้ ดังนั้นการซื้อเครื่องปรับอากาศหนึ่งครั้งสำหรับคนเมืองร้อนแบบเราๆ จึงเป็นเรื่องใหญ่และถือเป็นการลงทุนระยะยาว เพราะแอร์หนึ่งตัวจะต้องติดอยู่กับห้องเราอีกหลายปี

อ่านต่อ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save

แชร์บทความ Carrier