เปิดสูตรคำนวณค่าไฟง่าย ๆ ไปกับแคเรียร์!
ค่าไฟเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ทุกบ้านมักให้ความสำคัญ และการประหยัดค่าไฟก็เรียกได้ว่าเป็นหมุดหมายของหลายๆ ครอบครัวเลยทีเดียว แต่การจะประหยัดค่าไฟให้ตรงจุดนั้น ควรจะต้องรู้จักวิธีการคิดค่าไฟฟ้าให้ถูกต้องเสียก่อน เพื่อจะได้รู้ว่าควรลดการใช้ไฟฟ้าตรงจุดไหนให้ประหยัดเงินในกระเป๋าได้มากที่สุด
ทำความรู้จัก หน่วยไฟฟ้า หรือ ยูนิต
ก่อนที่เราจะไปเริ่มคำนวณค่าไฟฟ้ากัน สิ่งแรกที่ทุกคนควรจะรู้คือ ค่าไฟฟ้าที่เราจ่ายกันอยู่ทุกเดือนนี้ เป็นราคาที่ถูกคิดต่อ หน่วยไฟฟ้า หรือ ยูนิต (Unit) โดย 1 ยูนิต หรือ 1 หน่วย จะเท่ากับ การใช้ไฟฟ้าในปริมาณ 1 กิโลวัตต์ (kW) หรือ 1,000 วัตต์ (W) ต่อ 1 ชั่วโมงนั่นเอง
วิธีคิดค่าไฟฟ้าพื้นฐาน
โดยปกติแล้วการคิดค่าไฟฟ้านั้นจะคิดตามจำนวนหน่วยหรือยูนิตที่ครัวเรือนนั้นใช้ไป โดยการจำนวนหน่วยไฟฟ้านี้ก็มีพื้นฐานมาจากการคำนวณกำลังไฟฟ้า (วัตต์) และระยะเวลาที่ใช้ไฟฟ้า (ชั่วโมง) ดังนั้นแล้วก่อนจะคำนวณค่าไฟ เราจะต้องสำรวจเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชิ้นภายในบ้านก่อน ว่ามีกำลังไฟฟ้ากี่วัตต์ และเรามักจะใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าชิ้นนั้นเป็นเวลากี่ชั่วโมง
เมื่อสำรวจเครื่องใช้ไฟฟ้าเรียบร้อยแล้วก็เอาตัวเลขที่ได้มาใส่ลงในสูตรเพื่อหาจำนวนหน่วย (ยูนิต) ดังนี้
“(กำลังไฟฟ้า (วัตต์ ) ÷ 1000) x จำนวนชั่วโมงที่ใช้ใน 1 เดือน = จำนวนหน่วย (ยูนิต)”
และเมื่อเราได้จำนวนหน่วยหรือยูนิตมาแล้วก็สามารถนำไปเทียบราคาตามอัตราค่าไฟของการไฟฟ้านครหลวง (สำหรับที่อยู่ในกรุงเทพฯ นนทบุรี และสมุทรปราการ) หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (สำหรับจังหวัดอื่นๆ ) ได้ดังนี้
“จำนวนหน่วย (ยูนิต) x อัตราค่าไฟต่อหน่วย = ค่าไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น ๆ ใน 1 เดือน”
วิธีคิดค่าไฟสำหรับเครื่องปรับอากาศ
การคิดค่าไฟฟ้าสำหรับเครื่องปรับอากาศนั้นจะแตกต่างจากการคิดค่าไฟของเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นอยู่เล็กน้อยเนื่องจากแอร์หรือเครื่องปรับอากาศมีการคิดกำลังไฟฟ้าเป็น BTU และมีตัวแปรอย่าง ค่า SEER หรือค่าประสิทธิภาพตามฤดูกาล อยู่ด้วย ดังนั้นสูตรการคำนวณค่าไฟของเครื่องปรับอากาศจึงเป็น
“(((ค่าBTU ÷ ค่า SEER) ÷ 1000) x ชั่วโมงการใช้งาน) x ค่าไฟฟ้าต่อหน่วย = ค่าไฟฟ้า (แอร์)”
ตัวอย่างการคำนวณค่าไฟของเครื่องปรับอากาศแคเรียร์ XInverter Plus (รุ่น 2TVAB018-W-I) ซึ่งเป็นรุ่นที่ได้รับการการันตีถึงความประหยัดไฟขั้นสุดด้วยฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 สูงสุด 3 ดาว โดยสามารถคำนวณค่าไฟต่อเดือนของเครื่องปรับอากาศได้ตามสูตร ดังนี้
ขนาดแอร์ 18,000 BTU ÷ ค่า SEER 22.50 ÷ 1000 x 8 ชั่วโมงต่อวัน x 30 วัน x ค่าไฟฟ้า 3.46 บาท/หน่วย จะได้ค่าไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศแคเรียร์ XInverter Plus ต่อเดือนอยู่ที่ 664.32 บาท เมื่อเปรียบเทียบระหว่างเครื่องปรับอากาศ Fixed Speed รุ่นอื่น ๆ ที่มีค่าไฟต่อปีอยู่ประมาณ 15,486 บาท แต่ในขณะที่ค่าไฟจากเครื่องปรับอากาศแคเรียร์ XInverter Plus (รุ่น 2TVAB018-W-I) จะอยู่ที่ 7,921 บาทต่อปีเท่านั้น จึงทำให้ประหยัดค่าไฟมากกว่าถึง 7,565 บาท/ปีนั่นเอง*
เคล็ดลับเลือกเครื่องปรับอากาศให้ประหยัดไฟ
1. เลือก BTU ให้เหมาะสมกับขนาดห้อง
การเลือกเครื่องปรับอากาศที่มี BTU เหมาะสมกับขนาดห้องจะช่วยให้เครื่องปรับอากาศทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ และมีอายุการใช้งานยาวนาน โดยการค่า BTU ที่เหมาะสมนั้นมีสูตรคำนวณคือ
“BTU = พื้นที่ห้อง (กว้าง x ยาว) x ตัวแปรความร้อน”
โดยค่าตัวแปรความร้อนของห้องที่รับความร้อนน้อย จะอยู่ที่ 800 – 850 ส่วนห้องที่รับความร้อนมาก จะอยู่ที่ 900 – 1000 ซึ่งถ้านำตัวเลขนี้ไปใส่ตามสูตรข้างต้นก็จะได้ค่า BTU ของแอร์ที่เหมาะสมกับห้องและการใช้งานแล้ว แต่สำหรับใครที่ไม่อยากคำนวณค่า BTU ด้วยตัวเอง ก็สามารถเข้าไปใช้ระบบคำนวณบีทียู หรือ BTU Calculator ผ่านเว็บไซต์ของแคเรียร์ได้เลย คลิก
2. เลือกเครื่องปรับอากาศที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ติดดาว
เครื่องปรับอากาศที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ติดดาว เป็นเครื่องปรับอากาศที่ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพการประหยัดพลังงานตามมาตรฐานของ กฟผ. และกระทรวงพลังงานมาแล้วว่าสามารถประหยัดไฟได้ดี ยิ่งดาวมากก็ยิ่งประหยัดไฟมากนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคสามารถรับทราบและพิจารณาค่าไฟที่มากับอุปกรณ์ไฟฟ้าใดๆ ได้จากข้อมูลที่แสดงอยู่บนฉลากประหยัดไฟ โดยค่าไฟของเครื่องไฟฟ้าหรือแอร์ที่ถูกทำการคำนวณจากการเปิดแอร์ 8 ชม. ต่อวัน
แคเรียร์ในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยีเครื่องปรับอากาศ เรามุ่งมั่นพัฒนาให้เครื่องปรับอากาศแคเรียร์ให้เป็นที่สุดแห่งความคุ้มค่า และประหยัดพลังงาน ด้วยเครื่องปรับอากาศคุณภาพเยี่ยม อย่างแคเรียร์ XInverter Plus และ แคเรียร์ Copper 11 ที่นอกจากจะโดดเด่นด้วยดีไซน์ทันสมัยแล้วยังได้รับการการันตีประหยัดไฟเบอร์ 5 สูงสุด 5 ดาว พร้อมฟีเจอร์ที่จะทำให้คุณคลายกังวลเรื่องค่าไฟ ด้วย REALTIME POWER CONSUMPTION CHECK ที่สามารถเช็กค่าไฟให้คุณได้ทันทีที่ใช้งานเครื่องปรับอากาศ