เรื่องของ “น้ำยาแอร์” เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ทุกบ้านต้องเคยประสบปัญหาอย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็น น้ำยาแอร์หมด เติมน้ำยาแอร์ และอีกสารพัดสิ่ง แล้วน้ำยาแอร์คืออะไร? สำคัญแค่ไหน ต้องเติมบ่อยเท่าไหร่ มีน้ำยาแอร์อะไรบ้าง วันนี้แคเรียร์มีคำตอบมาให้แล้ว
น้ำยาแอร์คืออะไร
น้ำยาแอร์เป็นสารทำความเย็นชนิดหนึ่ง ทำงานด้วยการอัดสารความเย็นให้กลายเป็นไอเพื่อเป็นตัวสร้างความเย็นให้กับเครื่องปรับอากาศ
ชนิดของน้ำยาแอร์
น้ำยาแอร์จะมีให้เลือกหลากหลายตามการใช้งาน ในบทความนี้จะขอพูดถึงน้ำยาแอร์สำหรับเครื่องปรับอากาศภายในบ้าน ซึ่งในปัจจุบันน้ำยาแอร์สำหรับเครื่องปรับอากาศภายในบ้านที่นิยมจะมี 3 ชนิด ดังนี้
1. น้ำยาแอร์ R22
2. น้ำยาแอร์ R410A
3. น้ำยาแอร์ R32
ซึ่งในแง่ของราคา ทั้ง 3 ชนิดบวกลบแล้วแทบไม่ต่างกัน แต่ในแง่ของประสิทธิภาพในการทำความเย็นจะต้องยกให้น้ำยาแอร์ชนิด R32 เพราะนอกจากจากจะมีประสิทธิภาพในการทำความเย็นที่มีคุณภาพดีแล้วยังเป็นมิตรต่อชั้นบรรยากาศอีกด้วย
น้ำยาแอร์ แท้จริงแล้วไม่ต้องเติมบ่อย
หากใครเคยมีประสบการณ์เมื่อเรียกช่างมาล้างแอร์ทีไร ต้องเสียเงินเพิ่มเพราะว่าน้ำยาแอร์หมด ต้องเติมน้ำยาแอร์อยู่ทุกครั้ง ให้สันนิษฐานไว้เลยว่าคุณอาจจะต้องเสียเงินโดยใช่เหตุ เพราะโดยปกติแล้วหากเครื่องปรับอากาศของคุณได้รับการติดตั้งที่ถูกต้อง ไม่ว่าจะผ่านไป 5 ปี หรือ 10 ปี น้ำยาแอร์ก็ไม่มีทางหมด ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเติมหากแอร์ยังเย็นอยู่
เพราะน้ำยาแอร์ที่อยู่ในเครื่องปรับอากาศของเรานั้นมีการหมุนเวียนเป็นระบบปิด ไม่มีทางหมดแน่นอน นอกจากจะเกิดการรั่ว ที่จะกล่าวถึงในลำดับถัดไป
โอกาสใดบ้างที่น้ำยาแอร์จะหมด
แม้ว่าน้ำยาแอร์อาจจะไม่หมด แต่ก็ไม่ใช่ว่าไม่มีทางเป็นไปได้ เราจึงขอแนะนำสักนิดเพื่อให้รู้ว่าเราจะตรวจสอบแอร์ของคุณนั้นเข้าข่ายน้ำยาแอร์หมดหรือไม่!? ด้วยวิธีใด
ข้อควรระวัง ที่ต้องรู้ก่อนเติมน้ำยาแอร์
1. น้ำยาแอร์ที่นำมาเติมต้องเป็นชนิดเดียวกัน ห้ามใช้คนละชนิดมาผสมกัน
2. การเติมน้ำยาแอร์ R32 และ R22 สามารถเติมส่วนที่น้ำยาขาดเพิ่มเข้าไปได้เลยเนื่องจากเป็นสารเชิงเดี่ยวไม่มีการผสมสารใดใดเพิ่มเติม แต่น้ำยาแอร์ R410A เป็นสารผสมต้องถ่ายน้ำยาแอร์เดิมออกมาให้หมดทุกครั้งก่อนเติมน้ำยาใหม่ หากไม่ได้ถ่ายน้ำยาแอร์เก่าออก จะทำสัดส่วนของน้ำยาแอร์ไม่สมดุล
3. ควรเติมน้ำยาแอร์ให้พอดีกับสเปกของเครื่องที่ระบุไว้ หากมีการเติมน้ำยาแอร์มากเกินกว่าสเปกของเครื่อง ก็จะเกิดอาการ Over Charge ที่จะส่งผลให้แอร์ไม่เย็นได้
4. การเติมน้ำยาแอร์ควรชั่งน้ำหนักของปริมาณของน้ำยา เพื่อให้เป็นไปตามการออกแบบมาตรฐานของเครื่องปรับอากาศ