การคำนวนค่าไฟเป็นอีกเรื่องที่หลายคนสงสัย
หากจะกล่าวถึงการคำนวณค่าไฟ ที่เป็นเรื่องไม่ง่ายนักต่อผู้ใช้งาน อย่างแรกที่ต้องทราบก่อนว่าอัตราค่าไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นใช้ไฟมากน้อยเพียงใด ยิ่งจำนวนวัตต์มาก ยิ่งหมายความว่าใช้ไฟมากตามจำนวนวัตต์
สูตรการคำนวณค่าไฟจึงต้องเริ่มต้นจาก กำลังไฟฟ้า (วัตต์ ) x จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้า ÷ 1000 x จำนวนชั่วโมงที่ใช้ใน 1 วัน = จำนวนหน่วยต่อวัน (ยูนิต)
หากจะกล่าวถึงการคำนวณค่าไฟ อาจจะไม่ใช่เรื่องที่ง่าย แต่ไม่ใช่เรื่องที่ยากสำหรับผู้ใช้งาน สิ่งแรกต้องทราบก่อนว่าอัตราการใช้พลังงานไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าต่อเครื่องๆนั้นมากน้อยเพียงใด ซึ่งอัตราการบริโภคไฟฟ้านั้นมีหน่วยเป็น วัตต์(w) ยิ่งจำนวนวัตต์มาก ยิ่งหมายความว่าใช้ไฟฟ้ามากด้วย
สูตรการคำนวณค่าไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศ
ค่าBTU. / ค่า SEER / 1000 x ชั่วโมงการใช้งาน x จำนวนวันใช้งาน x ค่าไฟฟ้าต่อหน่วย
X-Inverter : 42TVAA013 / 38TVAA013
ขนาดแอร์ 12,200 btu. /ค่า SEER 22.50 / 1000 x 8 ชั่วโมงต่อวัน x 365 วัน x ค่าไฟฟ้า 3.96 บาท/หน่วย ค่าไฟฟ้าต่อปี 6,270 บาท
อย่างไรก็ตาม การคำนวณค่าไฟของเครื่องไฟฟ้าหรือแอร์แต่ละเครื่องจะถูกทำการคำนวณจากการเปิดแอร์ 8 ชม. ต่อวัน และแสดงอยู่บนฉลากประหยัดไฟ เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับทราบและพิจารณาค่าไฟที่มากับอุปกรณ์ไฟฟ้านั้นๆอย่างถูกต้อง
อย่างไรก็ตาม การคำนวณค่าไฟของแอร์แต่ละเครื่องจะคิดคำนวณจากการเปิดแอร์ 8 ชม. ต่อวัน และจะแสดงอยู่บนฉลากประหยัดไฟ เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับทราบและพิจารณาค่าไฟที่มากับอุปกรณ์ไฟฟ้านั้นๆอย่างถูกต้อง