ติดต่อเรา

รวมวิธีใช้แอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้าให้ประหยัด คุ้มค่าพลังงาน

แคเรียร์บอกต่อใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างไร ให้ประหยัดไฟฟ้าค่าไฟแบบสบายกระเป๋า

เพราะบ้านคือพื้นที่แห่งการพักผ่อนที่เต็มไปด้วยความสุขของสมาชิกทุกคนภายในบ้าน ซึ่งอีกหนึ่งสิ่งที่ทำให้ความสุขและความสะดวกสบายภายในบ้านเพิ่มมากขึ้นก็คือ เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทต่าง ๆ ภายในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ ตู้เย็น ไมโครเวฟ เครื่องซักผ้า เครื่องปรับอากาศ และอื่น ๆ อีกเพียบที่อยู่ในแทบจะทุกกิจวัตรประจำวันของเราทุกคน จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ค่าไฟต่อเดือนจะออกมาเยอะกว่าที่เราคาดไว้มาก ในบทความนี้แคเรียร์เลยอยากจะมาแนะนำวิธีประหยัดเครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องปรับอากาศภายในบ้าน เพื่อประหยัดเงินในกระเป๋าของทุกคน รวมถึงประหยัดพลังงานให้โลกของเราอีกทาง ซึ่งเราสามารถเริ่มต้นได้ดังนี้

• เลือกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 สูงสุด 3 ดาว
เพราะช่วยประหยัดค่าไฟได้มาก ไม่ต้องกังวลกับค่าไฟที่ตามมาและผู้ใช้สามารถคำนวนค่าไฟที่จะต้องจ่าย จากเครื่องใช้ไฟฟ้าชิ้นนั้นได้ทันทีก่อนซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าชิ้นนั้นๆ ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 มีหน้าที่ให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับเครื่องใช้ไฟฟ้าให้เราได้พิจารณาข้อมูลและค่าไฟก่อนซื้อ ไม่ว่าจะเป็นระดับการใช้ไฟฟ้า ประสิทธิภาพการประหยัดพลังงาน ค่าใช้จ่ายต่อปี ดูวิธีสังเกตุฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ได้ที่นี่ 

• จัดเวลาการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าให้เหมาะสม
กำหนดเวลาการเปิดปิดที่เหมาะสมชัดเจน เพื่อควบคุมเวลาการใช้งานเท่าที่จำเป็น เช่นการรีดผ้า ควรกำหนดวันสำหรับการรีดผ้า เช่น รีดผ้าทุกวันเสาร์ โดยรีดผ้าหลาย ๆ ตัวช่วงเวลาเดียวกัน เพราะการรีดผ้าหลายๆชุดใน 1 ชั่วโมง จะประหยัดกว่าการเปิดปิดหลายๆ ครั้ง เพื่อรีดเพียงไม่กี่ชุด หรือการกำหนดช่วงเวลาเปิด-ปิดเครื่องปรับอากาศด้วยการตั้งเวลารีโมทเช่น ตั้งเวลา เปิด-ปิด เครื่องก่อนตื่นนอน 30 นาที – 1 ชั่วโมง โดยอุณหภูมิห้องจะยังคงเย็นอยู่และได้พักการทำงาน

• หมั่นดูแลรักษา ทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้า 
เครื่องใช้ไฟฟ้าไม่ไหวจะประเภทไหนก็ต้องการ การดูแลรักษากันทั้งนั้น โดยเฉพาะประเภทที่ให้ความเย็น ไม่ว่าจะเป็นแอร์ ตู้เย็น พัดลม จะต้องทำงานหนักมากขึ้นหากมีสิ่งสกปรกอุดตันเป็นจำนวนมาก โดยควรทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทนี้ทุก ๆ 3-6 เดือน เพราะหากทิ้งไว้ให้สิ่งสกปรกอุดตันมากขึ้นเรื่อย ๆ นอกจากความเย็นจะลดลงแล้ว จะทำให้อัตราการใช้พลังงานเพิ่มขึ้น ซึ่งหมายถึงค่าไฟที่มากขึ้นนั่นเอง 

แต่รู้หรือไม่? ว่าเราสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายและประหยัดพลังงานจากการใช้เครื่องปรับอากาศได้ตั้งแต่วินาทีแรกที่เลือกซื้อรวมไปถึงการใช้งานให้ประหยัดพลังงานด้วยวิธีง่าย ๆ เหล่านี้

1.เลือก BTU ให้เหมาะสมกับขนาดของห้อง เพราะหากเลือกแอร์ที่มี BTU เล็กกว่าห้อง ก็จะทำให้แอร์ทำงานหนักมากเกินความจำเป็น กินไฟมากกว่าเดิม ในทางกลับกันหากเลือกแอร์ที่มีขนาด BTU ใหญ่กว่าห้อง ก็จะเป็นการเปลืองค่าใช้จ่ายในการซื้อแอร์ตั้งแต่แรก

2.ติดแอร์ระบบ Inverter ที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 สูงสุด 3 ดาว เพราะระบบ Inverter ถูกออกแบบมาให้สามารถประหยัดไฟได้มากกว่าแอร์ระบบอื่น ๆ  ด้วยเซนเซอร์วัดอุณหภูมิภายในห้อง เมื่อความเย็นในห้องอยู่ในอุณหภูมิที่ตั้งไว้ แอร์ระบบ Inverter จะลดการทำงานลงโดยอัตโนมัติ และกลับมาทำงานตามปกติเมื่อต้องทำความเย็นอีกครั้ง ทำให้ได้ความเย็นสม่ำเสมอตลอดเวลา

3. ติดตั้งแอร์ในพื้นที่ที่เหมาะสม โดยทิ้งระยะห่างจากเพดานไม่ควรใกล้หรือชิดกับเพดานจนเกินไปจะทำให้ยากต่อการดูแลรักษารวมถึงหลีกเลี่ยงจุดที่โดนแสงแดดโดยตรงและเลี่ยงบริเวณที่มีเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทำให้เกิดความร้อน เพราะจะทำให้เครื่องทำงานหนัก ควรติดตั้งในจุดที่กระจายลมได้ทั่วถึง และไม่ควรติดตั้งให้หันไปทางประตูเพราะความเย็นจะถูกระบายออกจากห้องได้เร็ว

4.  ติดตั้งท่อต่างๆให้มิดชิด กันสิ่งไม่พึงประสงค์ เช่น แมลง หนู และอื่น ๆ เข้าไปติดอยู่ตามท่อ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้แอร์พัง ไม่สามารถใช้งานได้จนต้องเสียค่าซ่อมแซม และควรเลือกใช้เครื่องปรับอากาศที่ใช้งานน้ำยาแอร์ R32 ที่มีประสิทธิภาพการทำความเย็นสูง ลดการทำลายชั้นโอโซน เติมน้ำยาง่าย และมีราคาที่ถูกกว่ารุ่นอื่น ๆ 

5. เปิดแอร์ที่อุณหภูมิ 26 องศา ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่ได้รับการยืนยันจากการไฟฟ้านครหลวง (MEA) ว่าเป็นหนึ่งในเทคนิคที่สามารถช่วยให้เราประหยัดไฟได้ทุกวันอย่างง่าย ๆ เพราะการเพิ่มอุณหภูมิแอร์ 1 องศา จะทำให้เราประหยัดพลังงานได้ถึง 10% เลยทีเดียว อย่างไรก็ตามความเย็นของแอร์ยังขึ้นอยู่กับการหมั่นตรวจสภาพของแอร์และการดูแลรักษาความสะอาด ซึ่งควรทำการล้างแอร์ทุก ๆ 6 เดือน และถอดแผ่นกรองฝุ่นมาล้างทุก 1 เดือน หลักจากมั่นใจแล้วว่าการติดตั้งแอร์ของเราจะคุ้มค่าการใช้จ่ายและใช้งานมากที่สุดแล้ว ก็ถึงขั้นตอนที่การใช้งานแอร์ให้เย็นสบาย แต่ยังคงความประหยัดพลังงานไว้อยู่ได้ง่าย ๆ ด้วยการเปิดแอร์ที่ 26 องศา

หากพบปัญหาในการใช้งานแคเรียร์ ไม่ต้องกังวลเพราะเรามีทีมช่างพร้อมให้บริการโดยสามารถ แจ้งซ่อมได้ผ่านทาง 3 ช่องทางดังนี้

แจ้งซ่อมผ่านคอลเซ็นเตอร์ โดยทางคอลเซ็นเตอร์จะถามถึงข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลของแอร์ หลังจากได้ข้อมูลครบถ้วนแล้ว จะมีข้อความแจ้งผ่านทางโทรศัพท์ เป็นใบแจ้งซ่อม โดยเราสามารถโทรไปเช็กขั้นตอนการดำเนินการได้ เพียงแค่บอกเลขการแจ้งซ่อมเท่านั้น สามารถติดต่อคอลเซ็นเตอร์ได้ที่ 1454 ทุกวันจันทร์-เสาร์ ตั้งแต่เวลา 8.30 น. ถึง 17.30 น. 

แจ้งซ่อมผ่านระบบออนไลน์ ก่อนที่เราจะแจ้งซ่อมได้ต้องมีการลงทะเบียนไว้ก่อน แคเรียร์ขอแนะนำให้ลงทะเบียนตั้งแต่ช่วงติดตั้งแอร์แรก ๆ เลยจะดีที่สุด เพราะหากมีข้อมูลคาดเคลื่อน เราสามารถนำใบเสร็จมายืนยันได้ทันที โดยวันที่รับประกันจะนับตั้งแต่วันติดตั้งในใบเสร็จนั่นเอง เมื่อมีการลงทะเบียนแล้วเราก็สามารถแจ้งซ่อมและเช็คสถานะผ่านเว็บไซต์ได้เลย สามารถเข้าไปได้ ที่นี่

แจ้งซ่อมผ่าน LINE@ : @CARRIERCARE จะมีทีมงานที่คอยประสานงานกับฝ่ายคอลเซ็นเตอร์ เพื่อให้ข้อมูลเบื้องต้น รวมถึงนัดซ่อมให้ ซึ่งทุกท่านสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ผ่านช่องทางนี้เช่นกัน เปิดให้บริการทุกวันจันทร์-เสาร์ ตั้งแต่เวลา 08.30 น. ถึง 17.30 น.

บทความที่เกี่ยวข้อง
COPPER COIL คอยล์ทองแดงที่ทนทานต่อการสึกกร่อนจากแคเรียร์

COPPER COIL คอยล์ทองแดงที่ทนทานต่อการสึกกร่อนจากแคเรียร์

เมื่อพูดถึงสภาพอากาศในประเทศไทย แอร์ก็คงจะเป็นตัวเลือกแรกที่หลายบ้านเลือกใช้ เพื่อแก้ไขปัญหาอากาศร้อนอบอ้าว เพื่อสร้างอากาศในบ้านให้เย็นสบายตัว หากต้องการจะซื้อแอร์ซักเครื่องก็คงจะมีคำถามว่าคอลย์แอร์แตกต่างกันอย่างไร และระหว่างคอยล์ทองแดงหรือคอยล์อลูมิเนียมแบบไหนดีกว่ากัน

อ่านต่อ

รวม 5 วิธีหนีฝุ่น ช่วยให้ห้องสะอาด หายใจสะดวก

ปัจจุบันมีปัจจัยมากมายที่ทำให้เกิดฝุ่นละอองและมลพิษในห้องของเรา ทั้งฝุ่นละอองที่อยู่ในอากาศอย่าง PM 2.5 หรือไรฝุ่นที่เกิดจากเศษผ้า เศษผม

อ่านต่อ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save

แชร์บทความ Carrier