เมืองไทยกับอากาศร้อนเป็นของคู่กัน โดยเฉพาะช่วงหน้าร้อนอากาศร้อนอบอ้าวจนไม่อยากออกไปไหน เครื่องปรับอากาศจึงกลายเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทุกบ้านต้องมี แต่ว่า..จะต้องเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศอย่างไรให้อยู่กับเราได้นาน แคเรียร์จะมาเคลียร์ให้ทุกคำตอบ
คอยล์คืออะไร
อย่างแรกเลยก่อนที่คุณอยากได้เครื่องปรับอากาศที่มีความทนทาน คุณต้องรู้จักกับสิ่งนี้ก่อน
‘คอยล์แอร์’ หัวใจสำคัญของเครื่องปรับอากาศ เป็นส่วนประกอบที่บอกถึงเรื่องของความคงทน เครื่องปรับอากาศจะอยู่ได้คงทนได้แค่ไหน ให้ดูคอยล์แอร์เป็นส่วนประกอบ อย่าได้รอช้า มารู้จักคอยล์แอร์ผ่านบทความนี้กัน
เคยมั้ย? พนักงานขายจะคอยแนะนำจุดเด่นของแอร์ให้เรารู้จัก ไปจนถึงวัสดุที่ใช้ในการผลิต และหนึ่งในวัสดุที่พนักงานขายพูดถึง และแนะนำให้กับลูกค้าคงจะหนีไม่พ้นสิ่งนี้ “คอยล์แอร์แบบไหนที่คุณลูกค้าสนใจ” หลาย ๆ คนที่ยังสงสัยอยู่ว่า “คอยล์” ที่พูดถึงตกลงแล้วคืออะไร แล้วคอยล์เย็น คอยล์ร้อนแอร์คืออะไร สามารถหาคำตอบได้ตามด้านล่างนี้
ทำความรู้จักประเภทของคอยล์
คอยล์หรือรังผึ้ง ที่ช่างส่วนใหญ่ใช้เรียกกัน หัวใจสำคัญของเครื่องปรับอากาศมีหน้าที่แลกเปลี่ยนความร้อนเพื่อให้ห้องนั้นมีอากาศที่เย็นขึ้น ถ่ายเทความร้อนจากภายในสู่ภายนอก ช่วยลดอุณหูมิได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยปรับสภาพแวดล้อมในบ้านหรือห้องให้น่าพักผ่อน เย็นสบาย โดยคอยล์จะมีอยู่ 2 ประเภทหลัก ๆ คือ คอยล์ร้อน และคอยล์เย็น ทำงานร่วมกันเพื่อระบายความร้อนจากภายในสู่ภายนอก
คอยล์แอร์มีบทบาทสำคัญในกระบวนการทำความเย็น มีหน้าที่ในการถ่ายเทความร้อนจากภายในห้องสู่ภายนอก ช่วยลดอุณหภูมิได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างสภาพแวดล้อมภายในห้องให้เหมาะแก่การพักผ่อน โดยประเภทของคอยล์แอร์มีอยู่ 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่ คอยล์เย็น และคอยล์ร้อนแอร์ ซึ่งคอยล์ทั้งสองทำงานร่วมกันในการระบายความร้อน
- คอยล์ร้อนแอร์ (Condenser) จะเป็นคอยล์ที่อยู่ด้านนอก ทำหน้าที่ระบายความร้อนออกจากสารทำความเย็น เพื่อทำให้สารทำความเย็นที่มีสถานะเป็นไอ กลับมาเป็นของเหลวอีกครั้ง มีหน้าที่ระบายความร้อนออกจากสารทำความเย็นในขณะที่ตัวเครื่องทำงาน และดันความเย็นเข้าไปแทนที่ความร้อนตรงนั้น คอยล์ร้อนแอร์จะอยู่ในส่วนของคอมเพรสเซอร์แอร์ที่อยู่ข้างนอก
- คอยล์เย็น (Evaporator) จะเป็นคอยล์ส่วนที่อยู่ด้านในห้อง มีหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนความร้อนกับสารทำความเย็นอย่างน้ำยาแอร์ ทำให้เกิดการระเหยกลายเป็นไอ และทำความเย็นออกมา คอยทำหน้าที่ดูดความร้อนออกจากห้อง และส่งความเย็นที่มาจากสารทำความเย็นในคอยล์ร้อนไปแทน เพื่อทำให้ห้องมีอุณหภูมิที่เย็นสบาย ไม่ร้อน
อยากได้เครื่องปรับอากาศ ต้องเลือกคอยล์แบบไหน?
ต้องบอกก่อนว่าปัจจุบันมีประเภทคอยล์แอร์อยู่ 2 แบบ คือคอยล์ทองแดง และคอยล์อลูมิเนียม ก่อนเลือกซื้อควรพิจารณาองค์ประกอบอย่างอื่นควบคู่กันไปด้วย ยกตัวอย่างเช่น ทนทานทุกสภาพอากาศ บำรุงรักษาง่าย เป็นต้น สำหรับใครที่กำลังมองหาเครื่องปรับอากาศ แนะนำให้เลือกแอร์ที่มีวัสดุเป็นคอยล์ทองแดง (Copper Coil) เนื่องจากมีคุณสมบัติการถ่ายเทความร้อนได้ดี มีความทนทานได้ทุกสภาพอากาศ
ข้อดีของคอยล์ทองแดง มีดังนี้
1.ถ่ายเทความร้อนได้ดีเยี่ยม
เพราะทองแดงเป็นตัวนำความร้อนที่ดีเยี่ยม มีความสามารถในการถ่ายเทความร้อนได้ดี ทองแดงช่วยให้ระบายความร้อนได้เร็วและมีประสิทธิภาพ
2.อายุการใช้งานยาว มีความทนทาน
คอยล์ทองแดงจะมีความทนทาน ใช้งานได้ยาวนาน จะรักษาประสิทธิภาพระบายความร้อนได้นานหลายปี และรั่วซึมยากกว่าวัสดุชนิดอื่น ๆ ทนต่อการกัดกร่อน สามารถอยู่ได้นานถึง 10 ปี
3.ทนทานทุกสภาวะอากาศ
ไม่ว่าจะต้องเจอกับสภาพอากาศแบบไหน จะต้องเจอกับอากาศร้อน ฝนตก หรืออากาศหนาว คอยล์ทองแดงสามารถใช้งานได้แบบไร้กังวล มีความคงทนมากที่สุด
4.บำรุงรักษาง่ายไม่ยุ่งยาก
หากคุณใช้เครื่องปรับอากาศที่ใช้วัสดุคอยล์ทองแดงจะดูแลง่ายไม่ยุ่งยาก เมื่อเทียบกับคอยล์แบบอื่น เช่น ถ้าเกิดคอยล์รั่ว ก็สามารถซ่อมตรงรอยรั่ว และใช้งานต่อได้เลย ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนคอยล์ใหม่ทั้งหมด
มองหาแอร์ทนทาน มีคอยล์ทองแดงต้อง ‘Copper 8’
ฟังก์ชันเสริมที่มากับตัวเครื่องทำให้เครื่องปรับอากาศใช้ได้นานขึ้น
- คอยล์ทองแดง (Copper Coil): ทนทานต่อการกัดกร่อนทุกสภาวะอากาศ มีอายุการใช้งานนาน บำรุงรักษาได้ง่าย ใช้คอยล์ทองแดงเป็นวัสดุสำหรับคอยล์เย็น และคอยล์ร้อนแอร์
- ใส่ใจสุขภาพด้วยฟีเจอร์เสริม: มี Self Cleaning ลดสาเหตุการเกิดแบคทีเรีย และเชื้อราในอากาศ ด้วยระบบทำความสะอาดอัตโนมัติทันทีหลังใช้งาน ลดการสะสมของสิ่งสกปรกภายในเครื่อง นอกจากนี้ยังมี PM2.5 Filter อากาศสะอาดกว่าที่เคยด้วยแผ่นกรองชนิดพิเศษ ช่วยดักจับฝุ่นขนาดเล็กอย่าง PM 2.5 ยับยั้งสาเหตุการเกิดเชื้อแบคทีเรียได้เป็นอย่างดี
- ทนทาน จนกล้ารับประกันนานกว่าเดิม: การเลือกแอร์นอกจากจะเลือกจากความทนทานแล้ว ต้องดูที่ประกันด้วย แคเรียร์รับประกันคอมเพรสเซอร์นาน 7 ปี และรับประกันอะไหล่ทุกชิ้นส่วน 3 ปี ตั้งแต่วันที่ซื้อและติดตั้ง