เชื่อว่าหลายคนอาจสงสัยว่าแอร์กินไฟกี่วัตต์ หากเราเปิดใช้งานใน 1 ชั่วโมง แล้วค่าไฟจะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าใด ซึ่งในการคำนวณวัตต์ของแอร์แต่ละเครื่องจะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ขนาด BTU, ประสิทธิภาพ (SEER/EER), ชนิดของคอมเพรสเซอร์ (inverter หรือ non-inverter) และสภาพแวดล้อม ซึ่งในบทความนี้เราจะไปเจาะลึกถึงวิธีคำนวณค่าไฟแอร์พื้นฐาน ทริคการประหยัดไฟ รวมถึงแนะนำแอร์รุ่นประหยัดไฟเบอร์ 5 ด้วย
เปิดสูตรคำนวณค่าไฟแอร์กินไฟกี่วัตต์
ในการคำนวณหาค่าไฟแอร์จะต้องคำนวณ 3 ขั้นตอน ดังนี้ :
ขั้นที่ 1 คำนวณหากำลังไฟ
กำลังไฟ (Watts) = BTU/h ÷ SEER
BTU/h คือความสามารถในการทำความเย็นของแอร์ (ยิ่งเย็นดี ยิ่งใช้ BTU/h สูง)
SEER คือ Seasonal Energy Efficiency Ratio (หน่วย BTU/W·h) ค่าที่ใช้บอกประสิทธิภาพการใช้ไฟใน 1 ฤดูกาล (ยิ่ง SEER สูง ยิ่งประหยัดไฟ) โดยสามารถดูได้ที่บนฉลากประหยัดไฟ (ฉลากเบอร์ 5)
ขั้นที่ 2 หาค่าพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ต่อวัน
พลังงานไฟฟ้า (kWh) = (กำลังไฟ W × ชั่วโมงการใช้งาน) ÷ 1,000
ขั้นที่ 3 คำนวณหาค่าไฟ
ค่าไฟ = kWh × อัตราค่าไฟ (ล่าสุดอยู่ที่ 3.98 บาท/kWh)
ตัวอย่างการคำนวณหาค่าไฟแอร์ขนาด 12,000 BTU รุ่น Inverter ใน 1 วัน โดยเปิดใช้งานวันละ 8 ชั่วโมง (สมมติค่า SEER อยู่ที่ 20 BTU/W·h)
1. หากำลังไฟ (W) = 12,000 ÷ 20
= 600 W
2. หาพลังงานไฟฟ้า (kWh) = (600 W × 8 ชั่วโมง) ÷ 1,000
= 4.8 kWh ต่อวัน
3. หาค่าไฟ (บาท) = 4.8 kWh × 3.98 บาท
= 19.104 บาท xต่อวัน
คำนวณค่าไฟแอร์ 12000 BTU เปิดแอร์ 1 ชั่วโมง กินไฟกี่วัตต์
เงื่อนไข: แอร์ขนาด 12000 BTU (รุ่น non-inverter) มีค่า SEER 13 BTU/W·h อัตราค่าไฟ 3.98 บาท/หน่วย
- กำลังไฟ (W) = 12,000 ÷ 13 = 923 W
- พลังงานไฟฟ้า (kWh) = (923 W × 1 ชั่วโมง) ÷ 1,000 = 0.923 kWh
- ค่าไฟ (บาท) = 0.923 kWh x 3.98 บาท = 3.67 บาท
ดังนั้นใน 1 ชั่วโมง แอร์ขนาด 12,000 BTU จะกินไฟ 923 วัตต์ และคิดค่าไฟเป็น 3.67 บาท
คำนวณค่าไฟแอร์ 18000 BTU เปิดแอร์ 1 ชั่วโมง กินไฟกี่วัตต์
เงื่อนไข: แอร์ขนาด 18000 BTU (รุ่น inverter) มีค่า SEER 20 BTU/W·h อัตราค่าไฟ 3.98 บาท/หน่วย
- กำลังไฟ (W) = 18,000 ÷ 20 = 900 W
- พลังงานไฟฟ้า (kWh) = (900 W × 1 ชั่วโมง) ÷ 1,000 = 0.9 kWh
- ค่าไฟ (บาท) = 0.9 kWh x 3.98 บาท = 3.58 บาท
ดังนั้นใน 1 ชั่วโมง แอร์ขนาด 18,000 BTU จะกินไฟ 900 วัตต์ และคิดค่าไฟเป็น 3.58 บาท
แอร์ Inverter กับแอร์ปกติ กินไฟต่างกันกี่วัตต์
จากงานวิจัยพบว่าแอร์ inverter ประหยัดไฟกว่า non-inverter ถึง 44–46% ในภาพรวมการใช้งานต่อวัน เนื่องจากแอร์ Non-Inverter จะใช้คอมเพรสเซอร์แบบเต็มรอบเสมอ ทำให้มีการใช้ไฟอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่แอร์รุ่น Inverter จะปรับใช้คอมเพรซเซอร์ตามการใช้งาน ซึ่งจะประหยัดไฟได้มากกว่า 30-50%
ยกตัวอย่างเช่น เครื่องปรับอากาศขนาด 12,000 BTU :
- รุ่น Non-inverter (SEER ประมาณ 12): ใช้ไฟ ~1,000 W
- รุ่น Inverter (SEER ประมาณ 16–20): ใช้ไฟ ~750–600 W
จากการคำนวณจะเห็นได้ว่ากำลังไฟที่ใช้ต่างกันประมาณ 250–400 W นั่นก็คือค่าไฟที่ประหยัดได้ประมาณ 1–1.6 บาท/ชม. หรือ ~30–40% ของการประยัดไฟนั่นเอง
เปิดทริคใช้แอร์อย่างไรให้ประหยัดไฟที่สุด
- ตั้งอุณหภูมิแอร์ที่ 25–26 °C เพราะจากการสำรวจพบว่าค่าไฟเพิ่มเฉลี่ย 3% ทุก 1 °C ที่ลดลง
- เลือกแอร์ที่มี SEER สูงกว่า 14
- ใช้พัดลมช่วยหมุนเวียนลมภายในห้อง ลดระยะเวลาเปิดแอร์ต่อวัน
- ปิดช่องทางลมรั่ว ปิดม่านกันแดด ช่วยรักษาอุณหภูมิภายในห้อง ไม่ให้แอร์ทำงานหนัก
- ล้าง filter เดือนละครั้ง และล้างคอยล์ปีละ 1–2 ครั้ง แอร์สะอาดเท่ากับการแลกเปลี่ยนความร้อนดี ทำให้ใช้ไฟน้อยลงนั่นเอง
แนะนำแอร์แคเรียสุดประหยัดไฟ
สำหรับผู้ที่กำลังมองหาแอร์รุ่นประหยัดไฟ แอร์ Carrier XInverter Plus เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ ซึ่งแอร์รุ่นนนี้ใช้เทคโนโลยี inverter ขั้นสูง ช่วยควบคุมรอบคอมเพรสเซอร์ให้ทำงานได้ตามการใช้งานจริง จึงช่วยประหยัดไฟได้มากกว่ารุ่นทั่วไปประมาณ 40-50%
นอกจากนี้ความน่าสนใจของ Carrier XInverter Plus ก็คือมีค่า SEER สูงถึง 23-25 BTU/W·h ได้รับฉลากไฟเบอร์ 5 ตามมาตรฐานของ กฟผ. ห้องเย็นเร็ว ทำงานเงียบ และสามารถควบคุมได้ผ่านแอพพลิเคชั่น อีกทั้งยังตรวจสอบค่าไฟที่คำนวณผ่านการใช้งานจริงได้ตลอด 24 ชั่วโมงอีกด้วย
หรือจะเป็นแอร์ Copper 11 ที่โดดเด่นด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัย ด้วยการสั่งงานผ่านแอพ Carrier In The Air พร้อมเช็คค่าไฟได้ทันทีเช่นกัน แถมยังทนทานจากการใช้คอยล์ทองแดง เหมาะสำหรับทุกสภาพอากาศ
________________________________
ทุกวันนี้การเลือกซื้อไม่ใช่เพียงแค่การเลือกขนาด BTU ให้เหมาะสมกับขนาดของห้องที่จะใช้งานอีกต่อไป เราจะต้องคำนึงว่าแอร์จะกินไฟกี่วัตต์ ได้รับฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 หรือไม่ ค่า SEER คือเท่าใด แอร์เป็นรุ่น Inverter หรือ Non-inverter เพื่อการประหยัดค่าไฟภายในบ้านของคุณ