อาการคันจมูก จาม น้ำมูกไหล อาจเป็นสัญญาณของโรคภูมิแพ้อากาศ ซึ่งอาจเกี่ยวกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงแบบฉับพลัน หรือมีสิ่งกระตุ้น โดยอาการจะคล้าย ๆ เป็นหวัด หรือเป็นไข้แต่เป็นอาการอักเสบจากภูมิแพ้ หรืออาการอักเสบของเนื้อเยื่อที่ถูกกระตุ้นโดยสารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ มากกว่าการป่วยไข้ในระยะยาว ซึ่งในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับโรคภูมิแพ้อากาศ คืออะไร? อาการของโรคภูมิแพ้อากาศ เป็นอย่างไร? เป็นภูมิแพ้อากาศ มีวิธีป้องกัน และบรรเทาอาการได้อย่างไร? ติดตามต่อได้ในบทความนี้ เพื่อให้รู้เท่าทันอาการ และสามารถดูแลตัวเองได้อย่างเหมาะสม
ภูมิแพ้อากาศคืออะไร?
โรคภูมิแพ้อากาศ หรือ Allergic rhinitis คือ ภาวะที่ร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ในอากาศได้ไวมากกว่าคนอื่น ๆ เช่น เกสรดอกไม้ ฝุ่นละออง ขนสัตว์ ฯลฯ ที่มากระตุ้นให้เนื้อเยื่อในโพรงจมูกเกิดการอักเสบ หรืออาจเกิดได้จากอากาศที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน หรืออากาศที่มีความชื้นสูง ทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่าง ๆ เช่น อาการคันจมูก คัดจมูก จาม น้ำมูกไหล คันตา ตาบวม เป็นต้น ซึ่งอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนี้ อาจไม่มีความรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้แต่ก็อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หรือสร้างความรำคาญใจได้ไม่น้อยเลยทีเดียว โรคภูมิแพ้อากาศนั้นสามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัย ดังนั้นจึงควรสังเกตอาการให้ดีว่าสารก่อภูมิแพ้ที่ทำให้เกิดอาการแพ้นั้นคืออะไร และพยายามหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้เหล่านั้นให้ดีเท่านั้นเอง
อาการที่บอกว่าคุณกำลังเป็นภูมิแพ้อากาศ
อาการของโรคภูมิแพ้อากาศอาจเกิดขึ้นไม่เหมือนกันในแต่ละบุคคล แต่อาการส่วนใหญ่ที่พบได้บ่อย คือ
- คันจมูก คัดจมูก น้ำมูกไหล จาม เสียงขึ้นจมูก
- คันตา แสบตา
- คันหู หูอื้อ เจ็บหูด้านหลัง
- คันคอ มีเสมหะติดคอ เสมหะไหลลงคอ ไอเรื้อรัง แสบคอ
- เลือดกำเดาไหล ปวดศีรษะ
- รู้สึกมึน เวียนหัว และอ่อนเพลียหลังตื่นนอน
- เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคต่าง ๆ เช่น โรคไซนัส โรคหูชั้นกลางอักเสบ เป็นต้น
ป้องกันและบรรเทาอาการภูมิแพ้อากาศ
วิธีป้องกันอาการภูมิแพ้อากาศ มีหลักการง่าย ๆ คือ การสังเกตอาการตนเองอยู่เสมอว่าสารก่อภูมิแพ้ที่ทำให้เกิดอาการแพ้ หรือระคายเคืองนั้นเกิดจากสิ่งใด จากนั้นให้พยายามหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ให้ดีเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้อาการกำเริบได้อีก หากมีอาการแพ้ หรือระคายเคืองขั้นรุนแรงมากขึ้น หรือส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวม การใช้ชีวิตประจำวัน หรือมีภาวะแทรกซ้อนจากโรคต่าง ๆ ให้รีบทำการปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยโรค และวางแผนการรักษาให้เหมาะสมโดยทันที ส่วนวิธีการบรรเทาอาการสามารถรับประทานยาเพื่อลดอาการแพ้ หรือระคายเคืองได้ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอคำแนะนำในการใช้ยา
นอกจากนี้ เราอยากจะแนะนำวิธีการป้องกันการเป็นภูมิแพ้อากาศ นอกจากจะช่วยบรรเทาอาการแล้ว ยังช่วยป้องกันอาการกำเริบจากการเป็นภูมิแพ้อากาศได้ด้วย ได้แก่
- หากต้องมีการออกไปทำกิจกรรมข้างนอกบ้านให้ใส่หน้ากากอนามัยเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ และมลพิษทางอากาศ
- ทำการสวนล้างจมูกด้วยน้ำเกลือเป็นประจำเพื่อชำระล้างสารก่อภูมิแพ้ เมือกน้ำมูก และสิ่งสกปรกที่สะสมอยู่ในโพรงจมูก
- ดูแลรักษาสุขภาพโดยรวมของตนเองให้แข็งแรง เช่น การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบทั้ง 5 หมู่ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ และออกกำลังกายเป็นประจำ
- ติดต่อขอรับการรักษาที่เหมาะสมจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานยาแก้แพ้ การใช้ยาพ่นจมูกชนิดสเตียรอยด์ หรือการฉีดวัคซีนเพื่อรักษาโรคภูมิแพ้เฉพาะทาง รวมทั้งการผ่าตัดในกรณีที่มีโรคประจำตัวอื่น ๆ ร่วมด้วย
- หากอยู่ในบ้านให้ใช้เครื่องฟอกอากาศ หรือเครื่องปรับอากาศที่มีฟิลเตอร์ฟอกอากาศด้วย เช่น Carrier XInverter Plus แอร์แคเรียร์รุ่นนี้เป็นเครื่องปรับอากาศที่มีฟีเจอร์ฟอกอากาศที่ดีที่สุดจากแคเรียร์ด้วยการดักจับฝุ่น และสิ่งสกปรกในอากาศออกด้วยประจุไอออนลบ พร้อมมอบอากาศอันบริสุทธิ์ และเย็นสดชื่นกระจายเป็นวงกว้างได้ทั่วทั้งวัน สามารถดักจับได้ทั้งฝุ่น PM2.5 เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย สารก่อภูมิแพ้ และสารเคมีในอากาศ จึงเหมาะสำหรับผู้ที่เป็นภูมิแพ้อากาศที่ต้องการตัวช่วย ทั้งการทำความเย็นที่มีประสิทธิภาพ และให้อากาศบริสุทธิ์ได้ในที่เดียว นอกจากนี้แอร์รุ่นนี้ยังมีความทนทาน และมีความคุ้มค่า พร้อมสติ๊กเกอร์ประหยัดไฟเบอร์ 5 “5 ดาว” ช่วยให้คุณประหยัดไฟ และประหยัดเงินได้ด้วย
สรุปเกี่ยวกับภูมิแพ้อากาศ
วิธีการป้องกันและบรรเทาอาการภูมิแพ้อากาศที่ดีที่สุด คือ การรับรู้ถึงสารก่อภูมิแพ้ที่ทำให้อาการกำเริบ และพยายามหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้เหล่านั้นไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง อาจมีส่วนช่วยทำให้อาการภูมิแพ้อากาศที่เป็นอยู่ดีขึ้นได้ ถึงแม้ว่าการเป็นโรคภูมิแพ้อากาศอาจไม่ได้ก่อให้เกิดอาการที่ส่งผลร้ายแรงมากนัก แต่ก็อาจเป็นสัญญาณที่แสดงให้เห็นถึงความผิดปกติของร่างกาย โดยเฉพาะอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น หายใจติดขัด หอบหืด ไซนัสอักเสบเฉียบพลัน ภาวะนอนไม่หลับ หรือหยุดหายใจขณะหลับ เป็นต้น อาการเหล่านี้ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาโดยเร็วที่สุด การปล่อยอาการแทรกซ้อนให้กลายเป็นภาวะเรื้อรังอาจกลายเป็นต้นเหตุของการเกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ได้อย่างแน่นอน