ติดต่อเรา

ควรล้างแอร์บ่อยแค่ไหน ? ทำไมต้องล้างแอร์

ควรล้างแอร์บ่อยแค่ไหน ? ทำไมต้องล้างแอร์

ควรล้างแอร์บ่อยแค่ไหน ?

เป็นคำถามยอดฮิตที่หลาย ๆ คนสงสัยว่าต้อง “ล้างแอร์บ่อยแค่ไหน ?” “กี่เดือนต้องล้างแอร์ที” ขึ้นอยู่กับการเปิดใช้งานแอร์ของแต่ละบุคคล โดยทั่วไปแนะนำให้ล้างแอร์ทุก ๆ 6 เดือน หรือปีละ 2 ครั้ง เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการล้างแอร์ที่สุด หากเว้นระยะนานมากกว่านี้อาจเกิดการสะสมของฝุ่นและสิ่งสกปรกทำให้ส่งผลเสียต่อแอร์ให้ทำงานได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ แอร์อุดตันและไม่เย็น และยังส่งผลเสียต่อสุขภาพอีกด้วย

ปัจจัยในการล้างแอร์บ่อยครั้งแค่ไหนขึ้นอยู่กับอะไร ?

  • ความถี่และระยะเวลาในการเปิดใช้งาน

หากเปิดใช้งานแอร์ตลอดทั้งวันเป็นประจำทุกวัน ในขณะที่แอร์กำลังทำงานอยู่จะมีการหมุนเวียนอากาศในตัวเครื่องทำให้มีฝุ่นและสิ่งสกปรกเข้าไปเกาะภายในเครื่องได้ หากไม่ทำความสะอาดในเวลาที่เหมาะสมจะส่งผลต่อการใช้งานและผลเสียต่อร่างกาย

  • ตำแหน่งที่อยู่อาศัย

หากที่อยู่ของคุณอยู่ใกล้กับถนนหรือบริเวณที่มีฝุ่นเยอะ จำเป็นต้องล้างแอร์บ่อยครั้ง แนะนำล้างแอร์ทุก 2-3 เดือน โดยสังเกตฝุ่นจากด้านหลังของคอยล์ร้อนหรือคอมเพรสเซอร์

ข้อดีของการล้างแอร์

  1. เปิดใช้งานแอร์เป็นเวลานานแต่ไม่ได้ล้างทำความสะอาด ทำให้เกิดการสะสมของเชื้อแบคทีเรียและความชื้น ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นอับ และยังก่อให้เกิดโรคทางเดินหายใจ
  2. เพื่อให้แอร์ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ช่วยยืดระยะการใช้งานของแอร์และยังช่วยลดรายจ่ายในการซ่อมบำรุง
  3. ลดการอุดตันของอุปกรณ์ภายในจากฝุ่นและสิ่งสกปรกต่าง ๆ ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อตัวเครื่อง และยังป้องกันน้ำหยดที่มีสาเหตุมาจากฝุ่นที่สะสมอุดตันอยู่
  4. ช่วยประหยัดไฟ หากมีฝุ่นสะสมเกาะอยู่ที่ตัวระบายความร้อนจะทำให้คอมเพรสเซอร์แอร์ต้องทำงานหนักและใช้พลังงานมากเกินไป

การล้างแอร์มีแบบใดบ้าง ?

1. ล้างแอร์ด้วยตนเอง

คือการล้างด้วยตัวเอง เป็นการถอดฟิลเตอร์กรองฝุ่นออกมาล้างฝุ่นและสิ่งสกปรกที่ติดอยู่ออก เพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวก โดยความถี่ที่ควรล้างคือ ไม่น้อยกว่า 2 สัปดาห์ จะช่วยให้คุณประหยัดไฟขึ้นด้วย เนื่องจากคอมเพรสเซอร์จะทำงานหนักน้องลงนั่นเอง

2. ล้างแอร์ด้วยน้ำแรงดันสูง

การฉีดล้างทำความสะอาดคอยล์เย็นด้านในห้อง ด้วยปั๊มน้ำแรงดันสูง เพื่อทำความสะอาดฝุ่นที่เกาะตามช่องระบายลมออก และทำการเป่าหรือผึ่งให้แห้งเพื่อรอนำมาประกอบใส่แอร์ให้เรียบร้อย 

3. ล้างแอร์ด้วยน้ำยาล้างคอยล์แอร์

เป็นการใช้น้ำยาล้างเพื่อกัดเซาะสิ่งสกปรกที่ฝังแน่นอยู่ในแผงคอยล์เย็นและคอยล์ร้อนให้ออก เนื่องจากใช้น้ำแรงดันสูงก็ยังไม่สามารถทำให้สิ่งสกปรกที่เกาะอยู่หลุดออกไปจนหมดได้จึงจำเป็นต้องมีน้ำยาล้างเป็นตัวช่วย หลังจากนั้นก็จะประกอบชิ้นส่วนต่าง ๆ เข้าที่เดิม โดยหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีที่มีค่าเป็นกรดหรือด่างมากเกินไปในการล้างแผงคอยล์เพราะจะทำให้แผงบางลงเรื่อย ๆ จนรั่วในที่สุดนั่นเอง

4. การแกะชิ้นส่วนออกมาล้า

วิธีนี้จะช่วยล้างขจัดฝุ่นที่เล็กกว่าฝุ่น PM 2.5 โดยการถอดชิ้นส่วนของแอร์ออกมาเป็นชิ้น ๆ และนำมาแช่น้ำยาล้างคอยล์ ทิ้งไว้ซักระยะหนึ่งและใช้ปั๊มน้ำแรงดันสูงฉีดทำความสะอาดรังผึ้งแอร์ พร้อมทั้งทำความสะอาดระบบความเย็น เเวคคั่มแอร์ และเติมน้ำยาแอร์ใหม่

บทความที่เกี่ยวข้อง
อยากให้แอร์อยู่นานต้องดูที่คอยล์_1

เคลียร์ทุกคำตอบ อยากให้แอร์อยู่นานต้องดูที่คอยล์

เมืองไทยกับอากาศร้อนเป็นของคู่กัน โดยเฉพาะช่วงหน้าร้อนอากาศร้อนอบอ้าวจนไม่อยากออกไปไหน เครื่องปรับอากาศจึงกลายเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทุกบ้านต้องมี แต่ว่า..จะต้องเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศอย่างไรให้อยู่กับเราได้นาน แคเรียร์จะมาเคลียร์ให้ทุกคำตอบ คอยล์คืออะไร 

อ่านต่อ
PM 2.5 Filter ในแอร์บ้านแคเรียร์ ช่วยกรองฝุ่นขนาดเล็ก เพื่อความสะอาดที่มากกว่า

PM 2.5 Filter ในแอร์บ้านแคเรียร์ ช่วยกรองฝุ่นขนาดเล็ก เพื่อความสะอาดที่มากกว่า

Highlight เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่ามลพิษนั้นมีผลเสียต่อร่างกายเรา แต่รู้กันหรือไม่ว่ายิ่งฝุ่นละอองเล็กมากเท่าไหร่ก็ยิ่งเป็นอันตรายมากขึ้นเท่านั้น เพราะฝุ่นที่มีขนาดเล็กสามารถเข้าไปถึงทางเดินหายใจและปอดของเราได้เลย ฝุ่นบางชนิดมีอนุภาคที่เล็กมาก ๆ

อ่านต่อ

ไข้หวัดแดด โรคหวัดหน้าร้อนที่มองข้ามไม่ได้

ช่วงนี้อากาศบ้านเรามันร้อนจนต้องร้องขอชีวิต อุณหภูมิกลางแดด 40 องศา และความแสบร้อนที่ผิว นอกจากจะทำให้ร้อนจนเหงื่อตกแล้วยังนำมาซึ่งโรคหน้าร้อน

อ่านต่อ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save

แชร์บทความ Carrier